ทัศนะและการตีตรา

ภาพ: เจอรัลด์ ฟอร์ด อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ (คนขวา) มอบเหรียญรางวัลให้ George Dantzig (คนซ้าย)

(เผยแพร่ครั้งแรกที่เฟซบุ๊คส่วนตัว)

ในปี 1939 นักศึกษาที่ UC Berkeley คนนึงเข้าห้องเรียนสาย เขาพบว่าอาจารย์ทิ้งโจทย์ไว้สองข้อ ก่อนจะเปลี่ยนเรื่องไปสอนอย่างอื่นต่อ
George Dantzig คือชื่อของนักศึกษาคนนั้น เขากลับบ้านไปทำการบ้านสองข้อนั้นส่งให้อาจารย์ในวันถัดมา ด้วยความรู้สึกว่าเป็นโจทย์ที่ยากกว่าปกตินิดนึง

อันที่จริง “การบ้าน” สองข้อนั้น เป็นโจทย์ปัญหาสถิติที่ยังไม่มีใครสามารถแก้ได้ และ “วิธีทำ” ของการบ้านข้อหนึ่งก็ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The College Mathematics Journal ของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งอเมริกา และกลายเป็นธีสิสจบของ Dantzig เองด้วย

 

แนวคิดของ “ทัศนะคติบวก” เป็นหนึ่งในเรื่องที่พบได้มากทั่วๆ ไป ตั้งแต่กรณีของ Dantzig ซึ่งทำให้เห็นว่าบางครั้งอุปสรรคต่อการทำอะไรคือเรื่องของความคิดและการรับรู้ (mindset and perception) และแนวคิดคล้ายๆ กันนี้ก็กลายไปอยู่ในแนวคิดของการประทับตรา (labelling) ในสังคมวิทยา

การประทับตรา (ไม่ได้พูดถึงในแง่สังคมวิทยา) เกิดขึ้นได้ทั่วไป ตั้งแต่การแยกห้องเด็กเก่งเด็กอ่อน ถึงการตราหน้าว่าใครเป็นคนดี คนชั่ว
บางครั้งการประทับตราที่น่ากลััวที่สุดก็เกิดจากตัวเอง หากเรานิยามตนเองว่าทำไม่ได้ ว่าโง่ ว่าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสังคม ในที่สุดแล้วจิตสำนึกและทัศนะส่วนที่ลึกที่สุดก็จะถูกดูดกลืนจากตราที่ตัวเองประทับ

ส่วนตัวเชื่อว่าตราที่ตัวเองเป็นคนประทับ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์กว่าตราของคนอื่น เพราะเป็นตราที่เราเชื่อว่าเราเป็นจริงๆ จึงไม่น่าจะปฏิเสธได้ว่า

บางครั้งการเริ่มเปลี่ยนอะไรในตัวเอง (หรือแม้แต่ในสังคม) ก็เริ่มจากการเลิกประทับตราแง่ลบทั้งหลายใส่ตัวเอง มองโลกตามจริงในแบบที่เป็น (in a neutral way) ถึงจุดนั้นน่าจะเห็นอะไรชัดขึ้นเองว่าเราควรทำอะไร รับรองว่าจะเป็นสิ่งที่สมควรแก่การทำจริงๆ มากกว่าการมานั่งประทับตราตัวเอง

 

George Dantzig เป็นนักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้น Simplex method ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหา linear programming โดยใช้เมทริกซ์ (x, y, z, a, b, p ที่เราเรียนกันตอนมัธยม)

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *