Author: srakrn

  • Laptop requirements

    เงินไม่มีแต่เสือกมาเขียนเรื่องความต้องการในการเลือกโน้ตบุ๊คนะครับ

    วัสดุ

    • จะพลาสติกหรืออะไรก็ไม่ซีเรียส จะเป็นไม้ก็ได้ถ้ากล้าทำมา
    • ไม่เอาสีขาว ยกเว้นอะลูมิเนียม (เอ๊ะ นั่นเค้านับว่าเทาหรือเปล่า)
    • ไม่เอาสีแป๊ด
      • ถ้าให้ดีอยากได้สีดำ
    • พูดง่ายๆ คือเอาเทา หรือดำ
    • ถ้าพลาสติกอยากได้อันที่มันด้าน (แบบ ThinkPad)

    การใช้งาน

    • แทรคแพดเป็นกระจก หรือแก้ว หรืออะไรก็ได้ที่ใช้นานๆ แล้วมันจะไม่ลอก
      • โน้ตบุ๊ค “ถูกๆ” แทรคแพดมันพลาสติกเคลือบด้าน เอานิ้วถูนานๆ แล้วจะลอกแบบเห็นได้ชัด
      • ซึ่งทนไม่ได้ เพราะจะไม่พกเมาส์เด็ดขาด
    • คีย์บอร์ดไม่กาก
      • Layout นี่เราแทบไม่ได้ใช้ปุ่มพวก Home Insert Del PgUp PgDn อ่ะ
      • ขอแค่พิมพ์แล้วให้ฟีลแบบแมคบุ๊ค (ไม่ขัดใจ ไม่ด็อกแด็ก ไม่งี่เง่า) ก็พอ
      • ถ้าเพื่อนกายอ่านอยู่ เงินไม่พอซื้อ Mech key จริงๆ ;_;
    • คีย์บอร์ดเรืองแสง is a plus.
      • อยากได้ ThinkLight แต่ อ่อ ลืมไป ไม่มีแล้ว
    • พอร์ต VGA จะดีมาก
      • ถ้า HDMI นี่แอบขก. หาตัว HDMI to VGA
      • ถ้า Mini DisplayPort มีตัวแปลงแล้ว

    ซอฟต์แวร์

    • รัน Ubuntu/Mint แล้วไม่มีปัญหา driver
    • ลง Hackintosh ได้จะดีงามฉิบหาย

    (more…)

  • My preference on OS X setup

    น่าจะได้ฤกษ์ฟอร์แมต OS X ใหม่ (ยังไม่ใช้ Sierra ไม่เรียก macOS นะ :P)

    ขอ list ไว้ก่อนว่าต้องทำอะไรมั่ง (ถึงแม้สุดท้ายจะไล่ตามนี้เยอะมากๆ ก็เถอะ)

    ทั้งนี้ manual ล้วนๆ ทั้งที่ควรศึกษา dotfiles

    (more…)

  • ความคิดและอารมณ์ ณ (ปลาย)มิถุนายน

    มีหลายเรื่องที่อยากเขียนสั้นๆ จับมารวมกันไว้ดีกว่า

    Legalise แม่งให้หมด?

    เคยคุยกับมิตรสหายท่านหนึ่งเรื่องการ legalise ทุกอย่าง เช่นหวย และการขายบริการ
    ด้วยเหตุผลว่าในเมื่อคนก็เสพกันอย่างผิดกฏหมายมาตลอด ทำไมไม่ทำให้มันถูก

    รัฐได้ค่าสัมปทาน ทุกอย่างคอนโทรลได้ เงินหมุนอย่างถูกกฏหมาย และรัฐบาลเอาไปคิดเป็น GDP ประเทศได้เกร๋ๆ

    แต่พอมาช่วงนี้มีข่าว legalise ยาบ้า ทำไมกลับรู้สึกว่า factor พวกนี้มันไม่ทำให้การ legalise ยาบ้าดูดีขึ้นมา

    ถ้าอ้างว่าเพราะสุขภาพ งั้นการเงินที่ขัดข้องจากการทำการพนัน หรือโรคติดต่อที่มีโอกาสได้จากการซื้อบริการล่ะ?

    มิตรสหายท่านเดิมบอกว่า สุดท้ายแล้วเหตุผลของการไม่ legalise อาจเพราะมันเป็นหนึ่งในวิธีจำกัดให้มันอยู่ในวงแคบก็เป็นได้

    แล้วแคบแค่ไหนถึงจะพอ?

    แสดงออก != ไม่รัก?

    อ่านเพจ Anti SOTUS แล้วมีนักศึกษา (อาจจะแกนนำ) ของมหาวิทยาลัยตัวเองออกมาประณามน้องที่เอาเรื่องภายในมาเปิดเผย (เอาเรื่องรับน้องมาแฉ) ว่าไม่รักสถาบัน

    ก็เลยนึกถึงตัวเองตอนทำหนังสือรุ่นเบาๆ

    มาถึงตอนนี้ก็ยังรู้สึกเบาๆ ว่าโรงเรียนเรามันควรดีขึ้นกว่านี้ เราไม่รู้ว่าความ satire ทั้งหลายที่ทำลงไปในหนังสือรุ่นมันจะ effective กับการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน

    ย้อนกลับไปที่ Sotus การเอาออกมาพูดคุยให้เปิดเผย ไม่ใช่เรื่องใต้หลืบ มันช่วยให้เกิดการถกเถียง เราเชื่อว่าการเถียงกันก็เหมือนกับการเกา – ถ้ามันถูกจุด มันช่วยแก้ปัญหา
    และการออกมาพูดก็ไม่ได้หมายถึงว่าเราไม่รัก หรือไม่อยากรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศของสถาบันนั้นๆ

    แต่เหมือนเดิมแหละ เรายังตอบไม่ได้ว่าสิ่งที่เราทำวันนั้นมันช่วยไหม มันถูกไหม
    แต่อะไรคือถูก? ถ้าเราทำเพราะอยากเห็นอะไรมันเปลี่ยนจริงๆ ล่ะ?

    จะว่าอวยคมตัวเองก็ได้ แต่คนที่ไล่ monitor วิกิโรงเรียนกับคนที่ satire โรงเรียนลงหนังสือรุ่นก็คนเดียวกันแหละ

    แต่เหมือนที่บอกแหละ เราอาจผิดจริงๆ ก็ได้

    วินัย (ในการอ่าน)

    นั่งเขียน reading list แล้วก็พบว่าตัวเองดองหนังสือเยอะมาก

    จะพยายามมีวินัยกว่านี้

    Sc Ti V Cr Mn Fe Co Ni Cu Zn

    กลัวการเปลี่ยนแปลง (transition) อยู่เรื่อยๆ
    เอาเข้าจริงถึงบอกว่าอยากจะเปิดโลกใหม่แค่ไหน การอยู่กับที่เก่าๆ อุ่นใจดีเหมือนกัน

    เล่นแท็ก

    นานๆ ทีจะเล่นแท็กในเฟซบุ๊ค
    ก็ถือว่าเป็นวิธีการส่องกระจกตัวเองและทบทวนความสัมพันธ์ที่ดี

    I’ll live my life | How memorable are things

    ได้ดูถ้าแมวตัวนั้นหายไปจากโลกนี้ (ชื่ออังกฤษมันชื่อ If Cats ไม่ได้มีคำว่าตัวนั้นเลย)
    ตั้งใจว่าจะพยายามใช้ชีวิตให้มากกว่านี้ (หน้าอย่างมึงก็ได้แค่ตั้งใจต่อไป)

    หลังจากนั้นไม่นานไปเดินสยาม (เพื่อไปเดินสยาม) พบความจริงที่น่าหดหู่อยู่สองอย่าง

    • ร้าน Teddy Bear ที่สยามสแควร์ปิดไปแล้ว
    • ร้านไอติมโยเกิร์ตรูปปลาหลัง Digital Gateway (เดี๋ยวนี้มันชื่ออะไรวะ Centre Point?) ก็ปิดไปแล้วเหมือนกัน

    มีความทรงจำดีๆ กับทั้งสองร้านข้างต้นมาก

    แค่มันหายไปเรายังรู้สึกไม่ดีและเศร้าเลย (วันนั้นเดินไม่สนุกเลย)
    แล้วถ้าความทรงจำเก่าๆ มันหายไปหมดล่ะ

    แย่น่าดู

  • ห่าง, เหมือนเดิม

    วันนี้สองเราห่างกัน
    โคจรออกจากวงเดิมกันไป

    เธอมีทางของเธอ ฉันมีทางของฉัน
    เราไม่เหมือนเดิม ส่วนที่เคยอินเทอร์เซกต์กันมันเปลี่ยน

    เราพบเจออะไรใหม่ๆ เวลาร่วมที่เราสองคนเคยใช้ด้วยกันก็เปลี่ยน

    สังคมเปลี่ยน อยู่กับสหายมากขึ้น
    เฮฮา หัวเราะ ทั้งเพื่อนเก่าและเพื่อนใหม่
    บางทีอาจหวั่นไหวว่าหัวใจเปลี่ยนไปไหม

    เธอคนนั้นที่ดูเข้าใจ
    เขาคนนั้นที่ดูใจดี
    หรือใจเราแปรเปลี่ยนแล้ว

    พระอาทิตย์ตก ลาจากมิตร
    กลับมานอนเงียบๆ ห้องสี่เหลี่ยมจตุรัส

    ก่อนจะพบว่าในใจยามอยู่คนเดียว คนที่อยากอยู่ด้วยก็คือเธอ
    ความหวั่นไหว ใจอ่อน ก่อตัวจากความเหงา
    ความเหงาก่อตัวเมื่อไม่มีเธอ

    สุดท้ายความอ่อนแอของหัวใจก็เกิดจากความอยากอยู่กับใคร
    แต่สุดท้ายเมื่อมองดีๆ คนที่อยากอยู่ด้วยก็เป็นคนเดิม

    แล้วเธอล่ะ
    รู้สึกเหมือนเดิมไหม

  • อยากได้ก่อนขึ้นมหาลัย

    ช่วงนี้กิเลสหนามาก สวนทางกับเงิน

    มาไล่เล่นๆ ว่าเราอยากได้อะไรบ้าง

    เอาแมคบุ๊คไปอัพแรม

    ความจำเป็น น่าจะมากที่สุด
    ประมาณการณ์ ไม่น่าเกิน 4,000 บาท

    จาก MacBook Pro Mid 2009 มาอยู่ยันตอนนี้ได้ก็ถือว่า “บุญหนา” มากๆ แล้ว
    อยากยืดอายุต่อไปอีกสักสองปี

    จัดฟัน

    ความจำเป็น สูง
    ประมาณการณ์ อูยย อันนี้น่าจะเจ็บ

    เริ่มปวดฟันซีกซ้ายที่เป็นซีกเดียวที่เราเคี้ยวอาหารได้มากขึ้นทุกวัน น่าจะต้องทำให้ซีกขวาเคี้ยวได้เร็วที่สุด

    ไอแพด

    ความจำเป็น กลางๆ มีก็ถือว่าดี
    ประมาณการณ์ อูย หลายบาทอยู่

    ขี้เกียจแบก Textbook (ตอนนี้มีไฟล์ Serway + Freedman แค่คิดสภาพสองเล่มนี้ก็ “อูย” ละ – เท็กซ์บุ๊คอย่างอื่นอีก แมทงี้) บวกกับความเทพของ GoodNotes มันหนาหูมาก
    ก็เลยคิดว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี แต่ไม่มีก็คงไม่เสียหายมั้ง

    เที่ยว

    ความจำเป็น ไม่จำเป็น แต่โคตร-อยาก-ไป
    ประมาณการณ์ สองหมื่น

    เที่ยวฮ่องกง!

    Mi Band ตัวใหม่ที่มีจอ

    ความจำเป็น ไม่จำเป็น
    ประมาณการณ์ พันเดียว

    อันนี้อยากได้จริง เอามาดันให้ตัวเองออกกำลังกาย

    เสื้อเชิ้ต

    ความจำเป็น ไม่แน่ใจ แต่ก็ควรมีเยอะกว่านี้
    ประมาณการณ์ พันนึงน่าจะเอาอยู่

    เลนส์ฟิกซ์

    ความจำเป็น ไม่จำเป็น
    ประมาณการณ์ สองหมื่น?

    ตัดทิ้งไปได้เลย อยากได้แค่ไหนแต่มีเลนส์ซูมไว้ส่องสาวอยู่แล้ว

    เสื้อยืด

    ความจำเป็น ไม่จำเป็น
    ประมาณการณ์ สามพันนิดๆ

    อยาก ได้ ห้า ตัว นี้ กับเสื้อยืดเทาอีกเป็นกองๆ

    แต่ถามว่ามีเงินไหม ก็ไม่ จบ.

  • SSL Intercept – แน่ใจหรือเปล่าว่าใช่?

    SSL Intercept – แน่ใจหรือเปล่าว่าใช่?

    ในกระบวนการการสื่อสารด้วย SSL เรามั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เราสื่อสารไปนั้นยังเป็นความลับอยู่
    แต่ความลับนั้นอยู่ได้นานแค่ไหน? คำตอบคือตราบใดที่ “ลูกศรร่วม” (Symmetric key) ยังเป็นความลับในกระบวนการการแลกเปลี่ยนคีย์

    (more…)

  • ทดลองนั่ง MRT สายสีม่วง

    เมื่อวานได้มีโอกาสไปนั่ง MRT สายสีม่วงในฐานะผู้ถือหุ้นครับ (ชื่อพ่อ เงินเรา 555)

    เลยมาบล็อกไว้สักหน่อย เป็นการอัพเดต progress ของตัวระบบรถไฟ 😀

    (more…)

  • ความปลอดภัยเบื้องต้น: HTTPS คืออะไร และทำงานอย่างไร

    ความปลอดภัยเบื้องต้น: HTTPS คืออะไร และทำงานอย่างไร

    บทความนี้เขียนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความตระหนักต่อการเข้ารหัส
    เพราะการเข้ารหัสไม่ใช่เรื่องไกลตัว

    เราคงเคยได้ยินลูกกุญแจสีเขียวที่ถ้ามีแล้วเว็บจะปลอดภัยขึ้นกันมาบ้าง

    ลูกกุญแจสีเขียวนี้ เราเรียกกันว่า HTTPS

    กลไกการทำงานของ HTTPS นั้นเอาเข้าจริงแบ่งเป็นสองระบบซ้อนกัน คือ HTTP ที่ใช้กันอยู่ปกติ และตัว S ที่เพิ่มขึ้นมา

    (more…)

  • การเข้ารหัสเบื้องต้น: Public-Private key encryption

    การเข้ารหัสเบื้องต้น: Public-Private key encryption

    บทความนี้เขียนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความตระหนักต่อการเข้ารหัส
    เพราะการเข้ารหัสไม่ใช่เรื่องไกลตัว

    เคยมีความลับที่ไม่อยากบอกใครไหมครับ?
    เคยนินทาเพื่อนด้วยโค้ดเนมย่อของมันแทนที่จะเป็นโค้ดเต็มไหมครับ?
    เคยเรียกครูว่า “ป้าแก่” “เจ๊โหด” “อีถึก” เพื่อป้องกันไม่ให้รู้ว่าหมายถึงใครไหมครับ

    นี่แหละ การเข้ารหัส

    (more…)

  • ทัศนะของข้าพเจ้าต่อวิธีแก้ปัญหาการรับเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทย

    เห็นอาจารย์อุ๊เขียนเรื่องระบบการรับเข้าศึกษาต่อในระดับสถาบันอุดมศึกษาไว้

    เพื่อเด็กๆทุกคน Posted by Uraiwan Sivakul on Tuesday, February 16, 2016
    ก็เหมือนเดิม มาตรฐานในการรับเด็กเข้าศึกษาต่อมันแย่ในสายตาเรามานานแล้ว เลยคิดว่าถ้าเป็นเราเราจะทำยังไง

    การรับนักเรียน

    เราชอบระบบตอนนี้ที่เป็นรับสองรอบ คือรอบรับตรง และรอบรับผ่านแอดกลาง ขอให้คงไว้ซึ่งระบบ Clearing house (เราว่ามันดีมาก) เพื่อโอกาสในการรับเด็กรอบหลังจากที่เหลือ วิธีนี้เราจะมั่นใจได้ว่าไม่มีการกั๊กที่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ และไม่มีการสอบแย่งกันจริงๆ (เพราะโดนตัด Clearing house ตัดแอดไปแล้ว)

    ข้อสอบ

    ปัญหาหลักมันคือข้อสอบ แก้อย่างไรก็ไม่เคยหมดปัญหา เป็นเราจะแก้ตามนี้

    ซอยวิชา

    เรามองว่าข้อสอบควรซอยวิชาออกมาให้เยอะที่สุด ตัวอย่างคือ เลข ให้ซอยเป็นสามระดับ
    • Math-A แบบง่าย
    • Math-B แบบปานกลาง
    • Calculus บทมันใหญ่ ถ้าเยอะจริงๆ ก็แยกออกมาเลย
    (Calculus นี่มาคิดทีหลังตามพี่ต้นกล้าบอก เอาเข้าจริงก็ไม่จำเป็นขนาดนั้น ใส่ Math-B เถอะ) วิทย์ ก็ซอยเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ข้อสำคัญคือต้องไม่มีเวลาสอบตัวไหนซ้อนกัน วิชาสามัญปี 2559 เป็นปีแรกที่เพิ่มเลขง่าย วิทย์ง่าย แต่เอาเวลาไปซ้อนกับเลขยาก วิทย์ยาก ทำให้คนที่อยากเข้าสายวิทย์ แต่เล็งสายศิลป์ไว้เป็นแผนสำรองต้องเปลี่ยนแผนสำรองใหม่ เพราะไม่สามารถสอบทั้งเลขยาก เลขง่าย ฟิสิกส์ และวิทย์ง่าย พร้อมกันเพื่อเอาไปยื่นคะแนนให้ครอบคลุมได้

    ทิ้ง GAT/PAT บางวิชา

    มองว่าควรทิ้ง
    • GAT อังกฤษ เอาไปเป็น Fundamental English แล้วเอาวิชาสามัญมาเป็น Additional English (พูดกันในแง่ความยากของข้อสอบ)
    • PAT1 เพราะยากเกินไป (ยกเว้นปีล่าสุด ข้อสอบดีมาก สมควรเอาแบบนี้มาใส่วิชาสามัญ – แต่ถ้าตามข้อเสนอเราก็จะยุบเป็น Math-A Math-B อยู่แล้ว)
    • PAT2 ในเมื่อวิทย์ทุกตัวมีสอบแยกแล้วตามข้างบน
    จากเงื่อนไขสองข้อข้างต้น เราจะได้วิชาดังนี้

    GAT

    • เชื่อมโยง

    PAT

    • วิศวกรรม
    • สถาปัตยกรรม
    • ครู
    • ศิลปศาสตร์
    • ภาษา ซอยย่อยเหมือนเดิม

    วิชาสามัญ

    • คณิตศาสตร์
      • Math-A ง่าย
      • Math-B ยากกว่า Math-A
      • Calculus
    • วิทยาศาสตร์
      • ฟิสิกส์
      • เคมี
      • ชีววิทยา
      • โลก ดราศาสตร์ ธรณีวิทยา
      • วิทย์พื้นฐาน และทักษะทางวิทยาศาสตร์
    • ภาษาไทย
    • ภาษาอังกฤษ
      • พื้นฐาน
      • เพิ่มเติม
    • สังคม (เราไม่รู้ควรซอยย่อยไหม)
    เห็นด้วยกับพี่ต้นกล้าว่า GAT  เชื่อมโยงไม่ช่วยให้เด็กคิดเป็นเหตุผล เสนอให้เปลี่ยน GAT เชื่อมโยงเป็น Logic Test 101 มีตรรกะวิบัติมาให้ทดสอบ

    คงความเสมอต้นเสมอปลาย

    ข้อสอบมาตรฐานอย่าง SAT/IELTS/TOEFL จะมีอายุคะแนนที่ 2-3 ปี เพราะเค้าสามารถออกข้อสอบให้ “เสมอต้นเสมอปลาย” ไม่ยากเหวี่ยงง่ายเหวี่ยงได้ อายุของคะแนนคือกันเด็กไม่ได้ทบทวนแล้วทักษะต่ำลง แต่กับ GAT/PAT และวิชาสามัญ มันยากเหวี่ยง ง่ายเหวี่ยง (ไม่เชื่อไปดูฟิสิกส์ 57-58-59 เทียบ – เราทำฟิสิกส์ 58 ได้แบบ "เขี่ย" เลย "มองตอบ" เลย) พอข้อสอบเหวี่ยง เลยต้องสอบปีต่อปี เสียเวลาเปล่า วัดเด็กไม่ได้

    เฉลยข้อสอบ

    วิธีการที่แฟร์ที่สุดเลยนะ
    • ตรวจข้อสอบเสร็จ สแกนกระดาษคำตอบให้นักเรียน login เข้าไปดูสองอย่าง
      • 1 – กระดาษคำตอบแผ่นนี้ใช่ของตัวเองไหม
      • 2 – ผลการอ่านจากเครื่องอื่นกระดาษคำตอบ ตรงกับที่ฝนไหม (ขึ้นรูปกระดาษคำตอบ ขึ้นว่าเครื่องอื่นได้ว่าฝนเลขอะไร แล้วก็ไปทาบกันเอง)
    • เผยแพร่ข้อสอบ พร้อมเฉลยเรียงข้อ พร้อมวิธีทำหลังสอบเสร็จสามวัน
    • ให้เวลา 7 วัน ติวเตอร์ ครู นักเรียน ช่วยกันตรวจเฉลย เจอข้อผิดพลาด (เฉลยผิด) ส่งเรื่องให้สทศ.
    • สทศ. ทำหน้ารายละเอียดว่าข้อไหนเฉลยว่ายังไง ใครแย้งว่ายังไง แล้ว follow up เรื่อยๆ เพื่อความโปร่งใส
    • Blacklist กรรมการออกข้อสอบที่เฉลยผิด อย่าให้คนไร้คุณภาพทำระบบทดสอบเสียหาย
    • จบกระบวนการนั้นค่อยคิดคะแนน ขึ้นคะแนนให้นักเรียนดูทีหลัง
    ระบบทุกอย่างออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางไปสทศ. เพียงแค่จะไปดูกระดาษคำตอบ เรื่องร้องเรียนมันควรจะทำให้ง่ายที่สุด เพื่อให้เด็กรู้จักรักษาสิทธิ์ของตัวเองด้วย เพิ่มเติมเป็นความรู้: อินเดียสอบวิศวกรรมศาสตร์ในชื่อ JEE (http://jeemain.nic.in/webinfo/Public/Home.aspx) สอบเสร็จข้อสอบเปิด Public ส่วนเฉลยเอารหัสสอบ Login ไปดู

    จำนวนครั้งที่สอบ

    ให้สอบทุกเดือนก็ถี่ไป (มองในแง่สทศ.) งั้นให้โอกาสสอบสามครั้งไหม? ถือว่าตามตาราง GAT-PAT และวิชาสามัญในปัจจุบัน

    วิชาแปลกๆ

    เช่น Critical reading ของ SMART-1 ก็ให้ไปสอบแยกเอาเอง เภสัชศิลปากรอยากจัดสอบวิทยาศาสตร์เด็กแบบภาษาอังกฤษ เลยจัดสอบ PSAT ที่สอบเคมี ชีววิทยา เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเอาคะแนนมาถ่วงวิชาสามัญอีกที จะทำแบบนี้ก็ได้ สุดท้ายวิชาแปลกๆ ให้มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง แล้วค่อยเอามาถ่วงน้ำหนักกับผลทดสอบการศึกษาระดับชาติ

    เกณฑ์การคัดเลือกบุคคล

    ความ "น่ามึนงง" ของสอท. ในสายตาเราคือคัดเด็กเข้าวิศวะด้วย PAT2 ที่มีชีววิทยานั่นแหละ -_- ดังนั้นถ้าระบบการสอบมันเปลี่ยนแล้วเรา eliminate PAT2 ทิ้งได้ ก็เป็นการบังคับให้ใช้วิทย์ที่แยกรายวิชามาคิดคะแนน ดังนั้นจะไม่เอาชีววิทยามาคิดก็ได้

    การเทียบคะแนนของคณะนานาชาติ

    พอข้อสอบเผยแพร่ออกมา เราว่าคณะนานาชาติที่รับทั้งคะแนนไทย และคะแนน Standardised ก็หาเกณฑ์เทียบคะแนน ทั้งเพื่อคัดเกณฑ์ขั้นต่ำ และเทียบคะแนนเด็กเลย ตรงนี้จะยากหน่อยว่าจะเทียบข้อสอบสองชุดอย่างไร แต่อย่างน้อยจะไม่มีปัญหาเหมือน IUP KU ที่ไม่บอกว่า GAT-PAT ต้องผ่านเท่าไหร่ถึงจะมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ในขณะที่พอเป็น Standardised test บอกไว้ชัดเจนเพราะรู้ว่าคะแนนไม่เหวี่ยง ปัญหามันไม่ได้ใหญ่เลย แค่จับจุดแก้กันไม่ถูก เราก็ยอมรับแหละว่าพูดแล้วง่ายกว่าทำ แต่มันมี solution ที่ดีกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้แน่ๆ อ่ะ รับประกัน