Author: srakrn

  • Loving Vincent

    Loving Vincent

    (ย่อหน้าสุดท้ายเป็นสรุป)

    เรียนตามตรงว่าผมไม่ใช่คนชอบดูหนัง ยิ่งการเขียนรีวิวหนังยิ่งไม่ใช่จริตที่ผมพึงกระทำเลย
    Loving Vincent คงเป็นข้อยกเว้น — ด้วยโปรดักชั่นที่เกิดจากการวาดภาพมากกว่าหกหมื่นหกพันเฟรมก่อนนำมาต่อกันเป็นภาพยนตร์ยาวชั่วโมงครึ่ง ผมอาจนับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็น “อาร์เรย์ของงานจิตรกรรม” ที่ถูกกระพริบใส่ตาผมมากกว่าเป็นภาพยนตร์ก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีวิธีใดที่จะ “เชิดชู” ฟาน กอกฮ์ ได้ดีกว่าการถ่ายทอดชีวิตของเราออกมาผ่านภาพวาดในแบบที่เป็นเขามากที่สุด

    แน่นอนว่าด้วยความที่หนังเรื่องนี้อุทิศให้กับฟาน กอกฮ์ ผู้กำกับจึงเลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านภาพเขียนต้นฉบับของเขาได้อย่างชาญฉลาด
    ภาพวาด Starry Night (อันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเป็นงานเขียนอมตะกาลของเขา), ภาพของคุณหมอกาเชต์ และภาพวาดตัวเองของฟาน กอกฮ์ (ฉบับปี 1989) ยามปรากฏในหนัง ทำให้ผมขนลุกได้ไม่ยาก

    การเล่าเรื่องทำได้อย่างกระชับ การถ่ายทอดกระแสอารมณ์ของศิลปินที่เลือกอัตนิวิบากกรรม ผ่านการเลือก “สัมภาษณ์” ตัวละครในชีวิตของฟาน กอกฮ์ เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ถือว่าไม่เลว ยิ่งเมื่อได้มองว่าคนรอบข้างของเขาเลือกที่จะจดจำเขาในภาพที่ต่างกันไป มุมมองชีวิตของเขาต่างกันไปปากต่อปาก
    ต้องยอมรับว่า ณ ช่วงที่ออกจากโรงหนังค่อนข้าง “ตัน” กับความรู้สึก เพราะโดนการกระทบทางอารมณ์ (emotional impact) จากตัวภาพยนตร์ไปไม่น้อย)

    โดยสรุปแล้ว Loving Vincent เป็นหนังที่เล่าและถ่ายทอดเรื่องราวของฟาน กอกฮ์ ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งในแง่ของตัวเรื่อง วิธีการถ่ายทอด และที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือตัวสื่อที่เลือกถ่ายทอดออกมาอย่างฉลากและเฉียบคม
    น่าจะไม่มีภาพยนตร์ไหนที่ว่าด้วยเขา จะสามารถถ่ายทอดความเป็นฟาน กอกฮ์ ออกมาได้เท่านี้แล้ว

  • สองพันสิบเจ็ด: แด่เรื่องราวมากมาย

    สองพันสิบเจ็ด: แด่เรื่องราวมากมาย

    ภาพประกอบถ่ายวันที่ 27 ธันวาคม 2560 — ฝนตกระดับที่น่าเดินตาก อากาศเย็นระดับที่น่าเดินเล่น เป็นวันที่มีความสุขแค่ได้เดินโง่ๆ

    สองพันสิบเจ็ดเป็นปีที่ซับซ้อนอย่างบอกไม่ถูก ถ้าเราจะเปรียบมันเป็นเพลง เราอยากเปรียบมันเป็น Dadaville ของ Garry Carpenter

    ตัวเอง

    • ภาระปีสองเยอะกว่าที่คิด รู้สึกอยากผ่านมันไปให้ได้แบบสวยๆ
      • รู้ว่ายาก และแบกภาระความกดดันมากขึ้นด้วย
    • พบว่างานบางงานที่ตั้งใจทำแล้วทำสนุก จะจริงจังจนลืมงานที่ไม่อยากทำ
      • ความสนุกเป็น factor ที่สำคัญ
      • และกับงานเหล่านี้ถ้าออกมาผิดหวัง เราไม่ลังเลที่จะร้องไห้ แม้แต่กับ factor ที่คุมไม่ได้
      • เราอยากให้งานที่เราอยากทำจริงๆ ออกมาดีอ่ะแหละ
    • เป็นปีที่ติสต์ขึ้น ฟังเพลงเยอะขึ้น เข้าหอศิลป์บ่อยขึ้น
      • อยากไป Louvre, อยากไปดูงานของ Claude Monet
    • พฤติกรรมในชีวิตหลายอย่างเปลี่ยนไป มีทั้งแง่ดีและไม่ดี
      • กินแพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
        • อันนี้เป็นผลมาจาก Gastronomy Trip ปลายปี 2016
        • กินหลากหลายขึ้น เพราะพยายามลองอาหารหลากหลาย palette ตอนนี้กำลังจะมาหยุดอยู่กับอาหารไทย
        • มีโอกาสทำเพจเกาะกันกิน เขียนเล่นๆ แต่เขียนแต่ละทีจริงจังกับการรีวิว เรารู้สึกว่าการถ่ายทอด perception/attitude ต่ออาหารของเราหนึ่งจานออกมาเป็นคำนี่ค่อนข้างยากนะ
        • นอกจากนั้นยังดื่มชาหนักขึ้นมากๆ (ปกติไม่เรื่องมาก — Lipton Yellow Label คือจบ ส่วนตอนนี้กำลังหาวันว่างๆ ไป Ronnefeldt 5555555)
        • ไม่ใช่ว่าปีหน้าจะกินให้น้อยลง แต่เป็นกินให้เยอะขึ้น ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ราคาที่ต้องจ่ายอาจจะสูงแต่เราเชื่อว่าเราจะสามารถยกระดับลิ้นของตัวเองให้กลายเป็นคน “กินเป็น” ไม่ใช่คน “เป็นแต่กิน”
      • อ่านหนังสืออีกครั้ง
        • เป็นผลพลอยได้จากการที่มีคนเข้ามาในชีวิตช่วงกลางปี
        • ตั้งใจจะอ่านให้มากขึ้นอีก ใน field ที่หลากหลายมากขึ้นอีก ในขณะเดียวกันกับสายอาชีพตัวเองก็จะต้องหลักและลึกขึ้นอีก
          • นั่นหมายถึงงานปริมาณมหาศาล
        • ทุกวันนี้ก็เสพการอ่านอยู่นะ แค่ไม่ได้อยู่ในรูปของหนังสือ (เป็น Social network stream แทน) ก็หวังว่าจะ “เปลี่ยน” มาอ่านหนังสือได้เยอะกว่านี้
        • ขายของ: My Reading List เจอหนังสือน่าสนใจมาชวนอ่านได้จ้า
    • ร้องไห้บ่อยขึ้นในเรื่องเดิมๆ ช่วงมาถี่คือถี่ทุกว้น ช่วงไม่ถี่คือเดือนละครั้งสองครั้ง
      • หลายครั้งอยากร้องไห้ออกมาดื้อๆ ไม่รู้ว่าเพราะอะไร แค่อยากร้องไห้

    การงาน

    • การงานปลายปีหนึ่งไม่มีอะไรเปลี่ยนสักเท่าไหร่ เรื่องเดียวที่ควรพูดคือเกรดเทอมที่แล้วทำได้เลวร้ายมาก
    • ปีสองเทอมหนึ่งเกรดออกก่อนสิ้นปีพอดี! ทำได้ดี แต่ยังดีไม่สุด ตัวที่หวังไว้สองตัวคือ ADT และ Discrete ก็ทำได้เกินความคาดหมาย บวกกับวิชายิบย่อยแล้วเทอมนี้เอา A ไปเก้าหน่วยกิต 🙂
    • งานที่ทำแล้วสนุกจริงๆ คือทำทีเอ เป็นประสบการณ์ในชีวิตที่ค่อนข้างอยากพูด
      • เรารู้กันดีว่าเด็กจำนวนมากเข้าวิศวะคอมมาเพราะเห็นเป็นสายงานที่เงินดี ต้องการเยอะ เด็กจำนวนมากจับคอมเขียนรายงานตัดวิดีโอแล้วก็คิดว่าตัวเองสามารถเรียนสายนี้ได้ คำถามคือเราจะปลูกฝัง passion และความสนุกที่มีให้กับเด็กกลุ่มนี้ได้ยังไง
      • สำหรับเรางานทีเอคืองานสอน ออกแล็บชีทนั่นแค่ติ่งเดียวที่อยากทำ
        • แต่สอนในที่นี้ไม่ใช่สอนเขียนโปรแกรม อันนั้นคือสิ่งที่อาจารย์ทำ
        • สิ่งที่เราอยากสอนคือ systematic thinking และสอนให้เชื่อมั่นในตัวเอง
      • คำถามเดียวที่ถามตัวเองทุกครั้งก่อนไปเจอน้องๆ คือ “เราจะทำให้น้องมั่นใจในตัวเองได้ยังไงดี”
        • เป็นคำถามที่ง่ายและคำถามที่ยาก เราเริ่มจากการตอบน้องว่า “ทำดีครับ” สำหรับทุกคำตอบจากคำถามที่เราถาม
          • “แล็บชีทถึงไหนแล้ว” “เสร็จแล้วครับ” “เยี่ยม ทำดีครับ”
          • “แล็บชีทถึงไหนแล้ว” “ยังไม่ได้เริ่มค่ะ” “เยี่ยม ทำดีครับ (แปลว่าทำอย่างอื่นอยู่ แบ่งเวลาดีๆ นะ)”
        • เราได้แรงบันดาลใจมาจากคลาสนึงที่ยุโรป เด็กเขียนคำว่า purple เป็น purpol สื่งที่ครูบอกเด็กคือ “ถูก เขียนแบบนั้นก็อ่านว่าเพอร์เพิล แต่น่าเสียดายที่คนเมื่อก่อนตกลงกันไว้แล้วว่าจะเขียนว่า purple และครูขอโทษที่ช่วยอะไรหนูไม่ได้เลย”
          • เจ๋งมาก เด็กก็รู้ว่าต้องเขียน purple แต่ความมั่นใจไม่หายอ่ะ
      • เราได้แต่หวังว่าการทำแบบนี้จะเสริมให้น้องกล้าทำอะไรมากขึ้น ก็หวังว่าในอะไรหลายๆ อย่าง เราจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้าง ecosystem ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่ดีได้
      • สภาพสังคมไม่ใช่อะไรที่สร้างได้ในวันเดียว แต่เราหวังว่าเราจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมัน ทั้งจากตอนทำทีเอ และตอนอื่น

    เพื่อน

    • เรา bullshit น้อยกว่าปีก่อนมาก ขอบคุณความเป็นเหตุเป็นผลที่เพิ่มขึ้น ขอบคุณตัวเองที่โตขึ้นบ้าง
    • ขอบคุณเพื่อนทุกคนที่อยู่ด้วยกันอยู่ ขอบคุณที่ช่วยให้ผ่านหลายๆ อย่างไปได้
      • คือเขียนสั้นอ่ะ แต่ขอบคุณจริงๆ ทุกครั้งที่ยื่นทิชชู่ ทุกครั้งที่โอบไหล่ ทุกครั้งที่เราขอบีบมือ ทุกครั้งที่เมสเสจไปหา
    • คิดถึงเพื่อนที่สาธิตนะ

    หัวใจ

    • มีเหตุการณ์ที่ทำให้หัวใจเต้นถึงสองครั้งในรอบปี นับว่าเยอะมาก
    • ครั้งแรกเป็นฝ่ายอยู่เงียบๆ แล้วเค้าบอกชอบเอง
      • เราจะถือว่าเราเขียนให้เธออ่านอยู่แล้วกัน
      • เป็นประสบการณ์ที่วิเศษมาก เราคุยกันได้ในเรื่องที่เราอยากคุย ศิลปะ สังคม วัฒนธรรม ปรัชญา หนังสือ
      • เราร้องไห้ เราดีใจมากที่เราเจอคนแบบนี้ ในฐานะเนิร์ดที่เก็บตัวอยู่กับอะไรก็ไม่รู้ เราดีใจที่ได้เจอเนิร์ดเหมือนกัน ถึงเราจะร้องไห้เหมือนกันเพราะเรารู้สึกว่าเธอควรจะเจอคนที่ดีกว่าเรา แต่เราไม่อยากเสียเธอไป
      • วันที่เราไปเดทกัน เราคุยอะไรหลายๆ อย่าง เราเดินคิโนะคุนิยะ เธอชี้หนังสือพ่อรวยสอนลูก เราแซ็วว่าโรเบิร์ตล้มละลายไปแล้วนะ เราเดินดูหนังสือ เธอช่วยเราเลือกหนังสือ มันคือเดทในฝันเลยแหละ
        • เธอทำให้เราได้กลับมาอ่านหนังสืออีกรอบ ขอบคุณมากนะ บล็อกรีวิวหนังสือทั้งหลายคงจะไม่มีถ้าเราไม่เคยคุยกัน
      • เรายังไปบันไดเลื่อนตรงนั้นที่สนามกีฬาฯ  เรายังคิดถึงเสียงของเธอ และไม่ใช่แค่เสียงหรอก เราคิดถึงเธอ ทุกอย่างที่เป็นเธอ
      • แม้เราจะจากกันไม่ดีเท่าไหร่ แต่ภาพที่เราเก็บถึงเธอเป็นภาพที่อบอุ่น ขอบคุณที่ครั้งนึงเคยรู้จักกันนะ เราดีใจที่เคยรู้จักเธอ
        • และถ้าเธอเห็น Faulkner เล่มนั้นบนชั้น เราอยากให้เธอนึกถึงเราในฐานะเพื่อนคนนึงนะ
    • ครั้งที่สองเป็นความชอบที่เราเป็นฝ่ายรู้สึกเอง
      • เรา admire คนที่เก่ง ชอบคนที่ร่าเริง และอยากอยู่กับคนที่จิตใจดี
      • คนที่เราชอบเป็นคนที่ทำให้เรารู้สึกว่าเค้าเก่ง มีความมุ่งมั่น เราพยายามหาทางสนับสนุนเค้าอยู่บ้าง
      • จนวันที่มีโอกาสได้คุยกัน เราพบว่าในวันที่เราเหนื่อยและเครียด เค้าทำให้เรามีพลังอีกครั้ง
        • คนอีกแบบที่เราอยากอยู่ด้วยคือคนที่พร้อมเติมไฟให้กัน วันไหนคุณหมดไฟเราเติมให้คุณ วันไหนเราหมดไฟคุณมาเติมให้เราบ้าง
      • เราพบว่าการที่คนคนนึงจะมีพลังบวก และความสดใสได้ขนาดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย (อย่างน้อยก็ในมุมของเรา) และเราอยากทำยังไงก็ได้ให้เค้าสามารถรักษาพลังนี้ไว้ได้เรื่อยๆ
      • เราตัดสินใจบอกชอบเพราะเราอยากขอบคุณที่เติมพลังให้กัน เราไม่อยากคิดว่ามันเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ เราแค่อยากบอกว่าขอบคุณที่ครั้งนึงเปลี่ยนเราได้ เรายิ้มเก่งขึ้นมาก
      • นี่คือรักครั้งแรกที่เราไม่ร้องไห้ในความรัก ทุกครั้งที่ผ่านมาเราร้องไห้ เราชอบคนที่เกินเอื้อม เราชอบคนที่เป็นไปไม่ได้ แต่กับครั้งนี้ที่รู้สึกชอบ มันมีแต่รอยยิ้ม ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่าความสบายใจจริงๆ มันเป็นยังไง
      • และการที่เราชอบใครสักคนก็เหมือนกับชอบดอกไม้ริมทาง จะตัดมาปักแจกันตัวเองก็ได้ หรือขอดูดอกไม้ค่อยๆ เติบโตห่างๆ ก็ได้
        • ซึ่งเราขอเลือกแบบหลัง
    • สรุปแล้วทั้งสองครั้ง แม้เราจะไม่ได้ “เป็นแฟน” เลย แต่สำหรับเรามัน worthwhile มากๆ เรื่องเป็นแฟนมันไม่สำคัญแล้ว
      • ถึงกระนั้นก็ยังคงรอวันที่จะมีใครพร้อมหยุดอยู่กับเราอย่างใจจดใจจ่อ 🙂

    2017 Resolution: A Better World

    เรารู้สึกเหมือนสิ่งที่เราทำเป็นแค่น้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร แต่อย่าลืมว่ามหาสมุทรจะไม่เหมือนเดิมถ้าขาดน้ำหยดนั้น
    แม่ชีเทเรซ่า

    เราตั้งปณิธานไว้ในปี 2016 ว่าอยากสร้างโลกที่ดีขึ้นในปีนี้

    เราบริจาคเงินเข้าองค์กรการกุศลบ้าง (ไม่บ่อย และช่วงหลังมาไม่ได้บริจาคละ) พยายามแคร์และเข้าใจความรู้สึกคนรอบตัวมากขึ้น (ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ได้ทำนะ) คิดว่าโลกที่มีเรากับไม่มีเราน่าจะต่างกันอยู่มั้ง

    มิตรสหายหลายๆ ท่านมาปรึกษาปัญหาชีวิตด้วย ไม่ใช่คนที่ให้คำตอบกับทุกคำถาม หรือแนะนำได้ทุกเรื่อง แต่ลึกๆ แล้วดีใจมากที่เราเป็น trusted zone ของใครหลายๆ คน

    2018 Resolution

    • Mini Project (ทำ TransitTH ให้เสร็จ)
    • เรียน ML ให้ครบแบบเอาไปใช้จริงๆ ได้
    • อ่านหนังสือให้เยอะขึ้น ดูหนังให้เยอะขึ้น
    • ทำให้โลกนี้ และคนรอบข้างดีขึ้นต่อไป
      • อยากเห็นทุกคนมีความสุข 🙂

    Thanks

    หลายคนน่าจะรู้สึกแปลกใจที่ท่อน Thanks ยาวกว่าท่อนอื่น เรารู้สึกคำขอบคุณคือวิธีแสดงความเคารพต่อคนที่เรารู้จักได้ดีที่สุด

    • ขอบคุณหอศิลป์กรุงเทพ, สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วงดุริยางค์ฟิลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย, วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ, BBC Symphony Orchestra ที่เป็นแหล่งพักพิงยามเราย่ำแย่ ดนตรีและงานศิลป์ช่วยเราได้มากๆ จริงๆ
    • ขอบคุณสยามพารากอน เซนทรัลเวิล์ด ช็อปทไวนิงส์ คิโนะคุนิยะ หอศิลป์กรุงเทพ บีทีเอสสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ห้อง 201 เก้าอี้ตรงนั้นในร้านแซม และม้านั่งตึกภาคสองตัวนั้น ที่เป็นที่สร้างความทรงจำหลายๆ อย่าง
    • ขอบคุณอาจารย์ CPE ทุกท่านที่ให้ความเอื้ออารีในหลายๆ ด้าน หวังว่าจะได้ทำงานกับอาจารย์เจ๋งๆ เยอะๆ นะครับ 😀
    • ขอบคุณเฌอปราง (และหลายๆ คน) สำหรับ passion ว่าถ้าตั้งใจทำอะไรก็จะทำได้จริงๆ
    • ขอบคุณ CPE31 เป็นการพิเศษ พี่ไม่ได้มาสอนเราอย่างเดียว พี่มาเรียนรู้จากเราด้วย และพี่ได้เรียนไปเยอะมากๆ เลย
    • ขอบคุณเพื่อนหลายๆ คน
      • มิตรสหายในโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งหลาย
        • ขอบคุณที่ยังมีมิตรจิตรอันดีและเกื้อกูลกันมาโดยตลอดครับ
        • ห่างหายไปบ้าง หวังว่าจะยังได้ keep in touch กับทุกคนอยู่นะครับ
      • เพื่อนที่สาธิต
        • เพื่อนที่สาธิตหลายๆ คนที่ยังติดต่อกัน ขอบคุณที่ยังมีมิตรจิตอันดีเสมอมา
        • พี่หมอทั้งหลายที่เคยคุยด้วยบ่อยๆ ถึงจะห่างหายเพราะยุ่งๆ กัน แต่คิดถึงนะ
        • แคตช์มีอิฟยูแคน ขอบคุณสำหรับที่ปล่อย dark memes นะครับ
      • เพื่อนที่ภาค
        • ขอบคุณ CPE ทุกคนสำหรับงานหลายๆ งาน ฟัคอัพไปบ้างก็ขออภัย
        • กลุ่มที่อยู่ด้วยกันบ่อยๆ — อ้น เบนซ์ มอร์แกน ไข่ ขอบคุณมาก ฟัคอัพไปบ้างก็ขออภัย รักพวกมึงทุกคน
        • เพื่อนทั้งหลายที่เราสนิทใจมากพอปล่อยมาเพ่นพ่านในแอคลับทั้งหลาย — ขอบคุณที่เป็นโซนอุ่นๆ ให้กันอยู่ตลอด รู้จักเรามากขึ้นเรื่อยๆ แล้วนะ
        • แก เออ แกนั่นแหละ
          • ยกให้พารากราฟนึงเลยโว้ยยยย ยาวกว่าชาวบ้านด้วยโว้ยยยย
          • แก MVP เราทั้งปีนี้เลย ไม่รู้ควรจะขอบคุณแบบไหนว่ะ
          • พิมพ์มาทั้งหน้าทั้งเรื่องความรักเรื่องนอยด์ไม่น้ำตาซึมนะ มาซึมตรงนี้ว่ะ
          • ขอบคุณ ไม่รู้จะขอบคุณยังไงถึงจะพอว่ะ ถถถถถถถถถถ
          • (เขียนไม่ถูกจนต้องทักหลังไมค์ไปหา เผื่อจะเขียนง่ายขึ้น ไปย้อนอ่านเองแล้วกันนะ)
          • ปีหน้าฝากด้วยนะ จะบอกแบบนี้ทุกปี
          • ดีใจเสมอที่วันนั้นตัดสินใจเดินไปทัก 🙂
    • ขอบคุณคนทั้งสองคนที่ทำให้เราใจเต้น
      • ถึงคนแรก: เราไม่คิดว่าเธอจะอ่านแหละ แต่ถ้าเธออ่าน ขอบคุณมาก เราคงอยู่ห่างออกจากกันไปมากขึ้นเรื่อยๆ ขอให้เธอมีความสุขในที่ตรงนั้นของเธอ 🙂
      • ถึงคนที่สอง: หวังว่าจะอ่าน Me Before You จบนะ จงใจเลือกเล่มนั้นเพราะตอนจบเลย 🙂 คนที่อยากเห็นทุกคนมีความสุขคือคนที่สมควรได้รับความสุขที่สุดแล้วจริงๆ ขอบคุณสำหรับความสุขที่ให้มานะ
      • บอกทั้งสองคนอีกรอบ: น่าจะรู้กันเนอะว่าเราไม่ชอบพิมพ์หน้า 🙂 ยกเว้นจะยิ้มจริงๆ อยากให้รู้ว่าทำให้เรายิ้มอยู่นะ
    • ขอบคุณพ่อแม่ ห่างจากบ้านขึ้นเยอะเรื่อยๆ แต่บ้านก็เป็นที่อุ่นใจเสมอ 🙂

    ขอบคุณทุกอย่างที่ประกอบรวมกันเป็น 2017
    ขอให้ 2018 เป็นปีที่ดี 🙂

  • เธอชอบฝน

    “ขอร่มหน่อย”
    เขาแปลกใจ หยิบร่มคันนึงกางคู่กับเธอ

    “เธอ”
    “หืม?”
    “ทำไมถึงขอร่มล่ะ ปกติเธอชอบฝนไม่ใช่เหรอ”
    “อื้ม แต่วันนี้อากาศเย็นนี่นา เราชอบเวลาฝนตกแล้วแดดไม่เผา”
    “แล้วเธอบอกว่าเธอชอบฝน เธอไม่อยากอยู่กับมันแล้วเหรอ”
    “การที่ชอบกันก็ไม่ได้หมายความว่าเธอต้องอยู่กับสิ่งนั้นตลอดป่ะ”
    “อืม ก็จริง แต่ถ้าวันนึงไม่มีแดด ไม่มีอากาศร้อน เธอจะยังชอบฝนอยู่ไหม”

    เสียงฝนตกเบาๆ คือสิ่งที่เขาได้ยิน

    “ถ้าวันนึงมีแต่อากาศเย็น เธอจะชอบอากาศเย็น หรือชอบฝน?”

    เธอเงียบ
    เขาเงียบ
    เสียงฝนตกฟังชัดขึ้นยามทุกอย่างเงียบสนิท

    เธอชอบฝน หรือเธอแค่ชอบใครก็ได้ที่ทำให้เธอเย็นในวันที่แดดเผา?

  • Jojo Moyes – Me Before You

    ปกติส่วนตัวไม่อ่านนิยายรัก แต่ Me Before You เป็นหนังสือที่เลือกมาอ่าน (และเลือกซื้อให้กับคนคนหนึ่ง) เพื่อแทนคำขอบคุณสำหรับความรู้สึกบางอย่าง

    เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อวิล เทรย์เนอร์ นักธุรกิจหนุ่มประสบอุบัติเหตุที่ทำให้เขาเป็นอัมพาตท่อนล่าง และลู คลาร์ค ต้องออกจากงานประจำเพราะร้านกาแฟที่เธอทำอยู่กำลังจะปิดตัวลง

    ลูได้งานใหม่เป็นผู้ดูแลวิล ตลอดเวลาที่ทั้งคู่ได้อยู่ด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนกันและกัน วิลเปิดใจมากขึ้น และลูก็ได้ค้นพบอะไรใหม่ๆ ในชีวิตไม่ใช่น้อย

    เราคงไม่เขียนถึงนิยายเล่มนี้มากนัก แต่นิยายเล่มนี้ทำให้เราน้ำตาซึม คนอีกฝั่งที่เราซื้อหนังสือให้เปลี่ยนเราไปพอสมควร ดังนั้นหลายอารมณ์ในหนังสือสามารถ “กิน” ใจเราได้ไม่ยาก

    แม้จะไม่ใช่นิยายประเภทที่เรา (ชอบ) อ่าน แต่ Me Before You ก็เติมเต็มความรู้สึกบางส่วนให้เราได้อย่างดี

    Just live well. Just live.

  • George Orwell – Animal Farm

    Animal Farm หรือสงครามกบฎของสรรพสัตว์ (ตามชื่อหนังสือฉบับแปลภาษาไทยโดยบัญชา สุวรรนานนท์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น) เป็นนิยายแนว “เสียดสี” ซึ่งเล่าเรื่องการปกครองดิสโทเปียในสังคมของฟาร์มสัตว์

    แรงบันดาลใจในการเขียน Animal Farm ของ Orwell คือการที่เขาพบกับสภาพสังคมของโซเวียตซึ่งปกครองโดยสตาลิน อันประกอบไปด้วยปัจจัย เช่นการปกครองแบบสั่งอำนาจ (dictatorship) การยึดมั่นตัวบุคคล (cult on person) โฆษณาชวนเชื่อ และระบบการกวาดล้าง

    เรื่องราวของ Animal Farm เริ่มจากการปฏิวัติฟาร์มของนายโจนส์ให้เป็นฟาร์มที่สัตว์ปกครองกันเอง มีการตั้งบัญญัติแปดประการเพื่อการปกครองฟาร์ม

    ตัวนิยายจริงๆ แล้วสั้นมาก ผมใช้เวลาหนึ่งคืนในการอ่านเล่มนี้จนจบ (และเป็นหนังสือคั่นเวลา พักขณะอ่านหนังสืออีกเล่ม) แต่ทุกการดำเนินเรื่องนั้นซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกฏทั้งแปดของฟาร์มต่างก็ล้วนเฉียดคม ยิ่งมองลึกเข้าไปเท่าใดยิ่งเห็นความจิกแนม (sarcastic) ของผลงานชิ้นนี้

    หนึ่งในหมายเหตุที่ผมอยากเขียนไว้ให้ชัดเจน คือผลงานการแปลไทยของคุณบัญชานั้นทำได้ดีมาก กล่าวคือดีพอจะทำให้คนขยาดหนังสือแปลไทยแบบผมหยิบมาอ่านได้โดยสบายใจ ดังนั้นหากไม่สันทัดภาษาอังกฤษ การอ่านฉบับแปลไทยก็เป็นอะไรที่ดีไม่ต่างกัน

    แม้อาจจะถูกมองว่าเป็นผลงานซึ่งกรุยทางไปสู่ผลงานระดับตำนานอย่าง 1984 แต่ Animal Farm เองก็ไม่ได้น้อยหน้าในการเลือกนำเสนอ แม้มิติ ความน่าสะพรึง และความลุ่มลึกจะไม่เท่า 1984 แต่สิ่งที่หนักแน่นกว่าใน Animal Farm คือการเลือกเสียดสี จิกกัด และเหน็บแนมระบอบปกครองเบ็ดเสร็จ (dictatorship) ผ่านการกระทำของสัตว์ได้อย่างดีเยี่ยม

  • Barcamp Bangkhen 8

    The Rules of Barcamp ข้อที่สองบอกไว้ว่า “You do blog about Barcamp” ดังนั้นจบงานเลยมาทำตามกฏ

    • เรานกบาร์แคมป์ทุกปี ตั้งแต่ม.4-5 ที่บ้านไกล มาไม่ได้ ม.6 ที่มีน้องมาแลกเปลี่ยน ไม่ว่างวันงาน ปีหนึ่งว่าจะไม่นกแน่ๆ ก็ปรากฏว่ามีไปฮ่องกง
    • พูดง่ายๆ คือถึงจะตามมาตลอด แต่มาบาร์แคมป์จริงก็มาเป็น staff เลย XDพอดี
      • ถึงกระนั้นก็เป็น staff ที่เหมือน participators มากกว่า คือนั่งฟังเยอะมากเพราะงานจริงๆ ตัวเองเสร็จตั้งแต่ก่อนวันงานเสียมากแล้ว
    • วันก่อนมางานนี้ไป Govcamp ที่ทาง Thai Netizen Network จัดไว้มา ประเด็นที่น่าสนใจแต่ไม่ถูกหยิบมาพูดคือ Net Neutrality เราก็เลยตัดสินใจว่าเอาวะ พรุ่งนี้งานใหญ่ มาพูดเรื่องนี้ดีกว่า
      • หนึ่งคืนในการ research เรื่องนี้ก็ยากพอสมควร เราพยายามเก็บ aspects ของประเด็นนี้จากหลายมุมมองให้ได้มากที่สุด
    • มองจากคนที่ไม่เคยมางานแล้ว บางแคมป์ปีนี้จัดดีกว่าทุกปีมากๆ มีการแบ่งเรื่อง session หรืออะไรค่อนข้างดี ไม่มีปั๊มโหวต ไม่มีเทโหวต
    • เราตัดสินใจพูด Net Neutrality ตอนเช้า เพราะเราโชคดีที่ได้คุณแพค (nrad6949) มาช่วยดูเนื้อหาให้ เป็นความโชคดีมากๆ ที่มีคนทำวิจัยเรื่องนี้พอดี

    และต่อไปนี้คือรีวิว sessions ช่วงเช้าที่เราเข้าฟัง

    หมูแดง

    (โดย nrad6949 เจ้าของเดียวกับหมูกรอบในตำนาน)

    • จากคนที่ไปฮ่องกงกับคุณแพค เรากล้าพูดได้เลยว่าหมูแดงแบบไทยมันห่วยแตก คุณแพคสามารถเล่าและอธิบายความเป็น #หมูแดง #ที่ดี ได้ เกริ่นตั้งแต่หมูแดงต้นตำรับ และการกลายพันธ์ของหมูแดงในไทย
    • เสียดายที่ไม่มีหมูแดงมาให้ลองทาน 😛 แต่อย่างน้อยก็ได้วาร์ป

    Blogger ไม่ใช่อาชีพ! มายาคติความเป็นอาชีพของ Blogger

    (โดย nrad6949 เจ้าของเดียวกับหมูแดงในตำนาน (อีกแล้ว))

    • คุณแพคเสนอแนวคิดว่าบล็อกเกอร์ไม่ใช่อาชีพ
      • สิ่งที่บล็อกเกอร์ขาดในความเป็นอาชีพด้วยมุมมองทางสังคมวิทยาผ่านทฤษฎีที่หลากหลาย (เช่นของเวเบอร์) คือบล็อกเกอร์ไม่มี code of conduct, ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ, และไม่มี career path  ที่ชัดเจน
    • ใครก็เป็นบล็อกเกอร์ได้ กดเปิดบล็อกก็แป๊บเดียว และเอาเข้าจริงเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ก็เป็น microblogging service
    • ดังนั้น pride ของบล็อกเกอร์ในฐานะ profession เป็นหนึ่งในความเข้าใจที่ผิด บล็อกเกอร์จะไม่มีวันเทียบได้กับนักข่าว (journalism) ที่ผ่านการเรียนรู้ และมีการรับรองในศาสตร์ของ investigative journalism

    Net Neutrality: A Very Short Introduction

    (เราพูดเอง)

    • Net Neutrality เป็นเรื่องที่ใหม่ เรานั่งตบตีกันกับการบล็อกบิท แต่เราไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้กันจริงๆ จังๆ
    • อินเทอร์เน็ตในอุดมคติควรเป็นเครือข่ายแบบ dumb pipe เหมือนท่อน้ำบ้านเรา — ท่อน้ำประปาไม่เคยแคร์ว่าเราจะเอาน้ำไปทำอะไร มันไม่เคยแคร์ว่าเราผลาญน้ำคนอื่นเพราะเราเปิดน้ำใส่อ่างอาบน้ำ เทียบกับคนที่อาบฝักบัว
      • แต่อินเทอร์เน็ตไม่ใช่แบบนั้น เราแคร์ว่าคนโหลดบิทควรได้รับ priority ที่ต่ำกว่าชาวบ้าน
    • การเลือกปฏิบัติกับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการบล็อก การบีบให้ข้อมูลช้า หรือการปล่อยให้ข้อมูลเร็ว เป็นการเลือกปฏิบัติที่ชัดเจน และละเมิดหลักของ Net Neutrality
    • การเลือกปฏิบัติมักพบได้สองแบบ คือเลือกปฏิบัติกับโปรโตคอล (เช่นการบล็อกบิท) และการเลือกปฏิบัติกับแหล่งข้อมูล
      • กรณีหลังน่าสนใจ — Comcast หนึ่งในผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ท บีบให้ traffic ของ Netflix ช้าลง ภายหลัง Netflix ต้องยอมจ่ายเงิน เหตุการณ์นี้เป็นการละเมิดหลัก Net Neutrality อย่างร้ายแรง
    • การบังคับใช้ Net Neutrality ไม่ใช่เรื่องง่าย ความพยายามของสหรัฐอเมริกากินเวลาไม่ต่ำกว่าห้าปี ผ่านการออกประกาศ แก้กฏหมาย และการฟ้องร้องมาเยอะ
    • Net Neutrality มีราคาที่ต้องแลกมา บริการไม่เสียค่าใช้จ่ายหลายอย่างเช่น Facebook Basics, Wikipedia Zero ขัดหลักนี้ชัดเจน แต่การปิดบริการเหล่านี้กำลังทำให้อินเทอร์เน็ตในระดับพื้นฐานเข้าถึงคนได้ยากขึ้น
    • คุณแพคมาช่วยเสริมว่ากรณีที่น่าสนใจในไทยคือ LINE Mobile ที่กสทช.ออกมาชี้ว่าขัดหลักชัดเจน

    • คนพูดได้ของขวัญเป็นเสื้อสตาฟ (สีส้ม) หนึ่งตัว กระบอกใส่น้ำ พวงกุญแจ และถุงผ้า (เสื้อฟ้าไม่เกี่ยว)
      • ชอบนะ เล็กๆ น้อยแต่น่ารักมาก ถุงผ้าตรงหนังดูดีมาาาก 😀

    ต่อไปก็เป็น session บ่าย

    ผมจะเล่าถึงความทรมานของคนที่เคยเป็นไข้เลือดออกให้คุณฟัง

    (โดยพี่บี้ @dotnfo)

    • เป็น session ที่ไม่มีสไลด์ พูดเนิบๆ เหมือนกับเลกเชอร์ในห้องเรียน แต่กับเรามีความหมายมาก
    • เหตุการณ์นี้ทำให้เรา flashback ไปถึงคนในครอบครัวที่ป่วยคล้ายๆ กัน
    • ชีวิตอ่ะไม่ได้แน่นอนเสมอ และยุงน่ะตบไปเถอะ

    ประสบการณ์งานจับมือ >///<

    (โดย CPE48 — ก็รวมเราด้วยแหละ)

    • ทีม CPE48 ก็ทีมจัดงาน BCBK ตัวหลักๆ นี่ละ ถถถถถถถถ
    • ก่อนเริ่มจริงๆ จังๆ เราบอกว่าห้ามพูดถึงไอดอลวงอื่นรวมเกินสามครั้ง ใครพูดครั้งที่สี่ไล่ออกจากห้องทันที ก่อนจะยื่นไมค์ให้พี่สองคนพูดคำว่า Sweat16! และเราพูดคำว่า Sweat16! อีกครั้งนึงทันที
      • นั่นหมายถึงต่อไปนี้ใครพูด โดนเตะ ;P
    •    ก็ไม่มีอะไรมาก เล่าประสบการณ์โดนตกกันไป
    • นับถือใจใครสักคนที่พกแท่งไฟมาครับ XD

    การปฏิรูปรถเมล์ในยุค 4.0

    (โดย wissarut106)

    • เพิ่งรู้ว่าเรายังไม่เลิกอีรถเมล์สาย Y ที่สีน่าเกลียดๆ
    • เพิ่งรู้ว่าค่าระบบ GPS บนรถเมล์นั่น 70 บาทต่อคันต่อวัน
    • สองข้อนี้ก็พอแล้วกับการเปิดโลกรถเมล์ แต่ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำ สไลด์เขียนไว้ได้ครบมาก
    • มีการปิดท้ายด้วยการเอา KFC มา ft. กับรถเมล์ โอตะนี่อยู่ทุกที่จริงๆ 😛

    ทำไมถึงเลิกเขียน Blognone

    (โดย Be1con)

    • ผมเชื่อว่าถ้าจะเถียงเรื่องประเด็นระหว่างบุคคล ควรมีที่ให้อีกฝ่ายโต้กลับได้เหมือนกัน

    พักเบรคบ่าย ขนมมันเทพมาก ทอฟฟี่เค้กกับพายแฮมมันบดนี่เทพจริง หลังเบรคจบผมซัดพายแฮมต่อไปอีกชิ้นนึง

    1 ปี Kubernetes ที่วงใน <Rerun from GDG Cloud Bangkok>

    (โดยพี่วิน @awkwin)

    • ผมหลับ

    จีบคุณหมอยังไงให้ติดภายใน 1 เดือน

    (โดยพี่บี้ @dotnfo)

    • เอาเข้าจริงหมอไม่ใช่อาชีพที่สูงส่งขนาดนั้น หมอหลายคนอยากได้ผู้ชายธรรมดาๆ ไม่ใช่หมอด้วยกันเอง มานั่งคุยเรื่อง clinic conditions/ethics ด้วยกันคงไม่สนุก
    • “การออกไปตามหาใครสักคนแล้วพร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผมว่านี่คือความสุขของชีวิตนะ”

    DIY Blockchain ไม่มีตังแต่อยากทำ Blockchain

    (โดย @unnawut)

    • หาเรื่องรายละเอียดการทำ blockchain ไม่เจอ เดี๋ยวจะมาเขียน
    • ที่ชอบมากๆ เลยคือสองข้อ
      • Blockchain !== Cryptocurrency ไม่ใช่ว่าทำ Blockchain ต้องเอามาทำเงิน เงิน และเงิน
      • Blockchain ไม่ใช่น้ำหมักป้าเช็ง การทำงานของมันทำให้แก้ปัญหาได้หลายอย่าง แต่ไม่จำเป็นต้อง implement ทุกอย่างที่มันแก้ปัญหาได้ทั้งหมดก็ได้
        • อยากทำการโอนเงินในธนาคาร จะใช้ blockchain ก็ไม่ต้อง implement ตรงที่มันโปร่งใส ไปเน้น cost-effective เอา

     

    • จบงานก็พิซซ่าฟรี!
      • ปีหน้าจะจัดการกับคนหิ้วพิซซ่ายังไงดี เราไม่ได้ว่านะ แต่เกรงใจคนที่ยังไม่ได้กินด้วย
    • เราชอบทวิตนี้พี่มนัสมาก บาร์แคมป์สามารถ shift ตัวเองจาก tech event ย่อมๆ ไปเป็น geek event (ในแง่ว่า geek คือคนที่ passion กับอะไรหลายๆ อย่างมากๆ) ได้น่ารักดี
    • งานปีนี้มาตรฐานดีมาก จนกลัวว่าปีหน้าจะทำงานดรอปลงไหม 555555
    • หลังเลิกงานได้มีโอกาสคุยกับพี่ไท ผู้ที่เล่นคีย์บอร์ด (musical) ด้วยคีย์บอร์ด (computer) ทดลองจิ้มๆ ดู เหยย เล่นง่ายกว่าที่คิด
      • เราไม่กล้าพูดสักเท่าไหร่ว่าเรามี perfect pitch/play by ear ได้ ไม่ใช่คนที่ได้ยินรอบเดียวแล้วเล่นได้เลย แต่พี่ไทจิ้มโน้ตมาให้ลองฟังก็ตอบได้บ้าง ส่วนตอบคอร์ดนี่ไปไม่เป็น 5555555
      • โดนชวนไปเล่นดนตรีปีหน้า หวังว่าจะซ้อมทัน เย่ะ

    หวังว่าปีหน้าจะสามารถจัดงานให้ดีเท่านี้ได้นะครับ เจอกัน #bcbk9 😀

  • Formal Photo 101

    ต้องการรูปตัวเองที่จริงจังพอมาตั้งแต่มัธยม เพิ่งมาประสบความสำเร็จเมื่อวันนี้

    ในฐานะคนที่ ลอง มาแล้ว หลายหน ก็ขอมาบันทึกวิธีการถ่ายที่ดีเอาไว้หน่อย

    • แสงต้องแข็งพอระดับนึง
      • ความพยายามในการแต่งรูปทุกครั้งจบที่การลด contrast/clarity เพื่อให้ภาพสมูธ แต่ถ้าทำแบบนั้นแล้วแสงไม่แข็ง ภาพจะเหมือนออกมาจากกล้องฟรุ้งฟริ้งทันที
      • หาฉากขาวๆ ถ่ายกลางแจ้งตอนที่แดดกำลังโอเค หรือไม่ก็ใช้เลนส์กว้างๆ จะไดคัทไปแปะฉากง่ายขึ้นมาก
        • ถ้าอยากได้ฉากขาวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากระดาษมาแปะเลย
    • ถ่าย
      • f เยอะได้จะดีมาก ผมช่วงหลังจะไม่หลุดโฟกัสแล้วจะไดคัทง่าย แต่แลกมาด้วยฉากไม่ละลาย ถ้าเป็นฉากไม่สีล้วนก็ตาย
      • วิธีถ่ายรูปของเราให้หน้าเดียว: ยิ้มหาเสียงให้เป็น
    • ฉากต้องสวย
      • ถ้าจะ corporate จ๋าก็อาจจะถ่ายในสำนักงานได้ แต่ไม่แนะนำ
      • backdrop ที่เป็นลายๆ แบบหนังๆ ส่วนตัวไม่ชอบ
      • อันที่ชอบเพราะแปลกตา คือ portrait shot ของ Google ที่พื้นหลังเป็น gradient แต่ชอบไม่สุด
      • รูปชุดที่ชอบที่สุด (จนต้องก็อป backdrop มาใช้) คือของอาจารย์ CPE รู้สึกเรียบ แต่ทรงพลังมาก
        • ฉากสีเทาที่ดี (หมายถึงที่ตัวเองชอบ) ให้เจือสีน้ำเงินลงไปนิดนึง จะไม่ดู monochrome
    • posture ต้องเป๊ะ
      • หน้าหันเงยขึ้นเล็กน้อย ห้ามถ่ายจากมุมเสย
        • ทุกครั้งที่ถ่ายรูปแนวนี้เพื่อนที่ถ่ายให้จะเตี้ยกว่าตลอด วันนี้เปลี่ยนไปรบกวนเพื่อนที่สูงพอๆ กัน ทุกอย่างจบ
      • ที่ไม่เคยใส่ใจเลยจนวันนี้เห็นคือไหล่ ถ้าเชิดไหล่ขึ้นจากด้านหน้า ไหล่ต้องไม่ตกเยอะ (คือความชันไหล่หน้าต้องน้อยกว่าไหล่หลัง) และแน่นอนว่าที่เคยลอง มาแล้ว หลายหน ไหล่หน้าตกตลอดหมดเลย
    • วิธีการไดคัทผมที่ดีที่สุด
      • ไดคัทตามปกติ (ใช้ adjust tools ช่วย)
      • Shrink selection 1px, inverse selection แล้วกดลบจนกว่าขอบขาวจะหาย
  • ถ่ายเอ็มวีฟอร์จูนคุกกี้ + จับมือเฟิรสท์ไทม์

    ปกติเรื่องแบบนี้จะไม่เขียนลงบล็อก (ไปลงเฟซแทน) แต่ขอมาเขียนไว้หน่อย ยาว

    • ณ วันที่เขียนบล็อกเอ็มวีก็ตัดเสร็จแล้ว แอร์ไทม์ตัวเองประมาณแปดวินาที
      • อยากอ่าน critics จากเรา ก็ไปหาอ่านตามเพจแล้วจินตนาการเสียงเราแล้วกัน
    • ช่วงที่กระแสสร้างอีเวนต์ในเฟซบุ๊คกำลังดังๆ เราตัดสินใจสร้าง “ฟอร์จูนคุกกี้ที่ตึกซีพีอี” ขำๆ ไม่ได้คิดอะไร
      • ปรากฏดันมีอีเวนต์ให้ส่งวิดีโอเต้นไปร่วมแสดง
      • ถ่ายจริงจัง (ประมาณห้าหกเทค) ตัดจริงจัง (นั่งอ่านคู่มือโปรแกรมตัด) โปรดักชั่นน่าจะดีกว่าหลายๆ ที่แบบเห็นได้ชัด
      • แล้วก็ได้ไปแบบลุ้นๆ (พร้อมกับคนที่บนซื้อซีดียี่สิบแผ่นและสิบห้าแผ่น)
    • ทีมงานขอเสื้อสีพาสเทล จบที่เสื้อ Giordano ตัวในรูป
      • “พาสเทลบ้านมึงเหรอ” — เพื่อนมัธยม
      • “น่าสงสาร แต่ก็จริงนะคะ 55555” — รุ่นน้อง ตอนเล่าว่าเพื่อนมัธยมบอกแบบนี้
    • ถ่อไปสวนสยามตั้งแต่เช้า (แต่ไม่เช้าเท่าคนอื่น)
    • จัดคิวลงทะเบียนได้ห่วยแตกดี เป็นคอขวดมาก ให้คนสองพันคนมาลงทะเบียบสี่แถว ถ้าคนละสิบห้าวิก็สองชม. นิดๆ แล้ว
    • จัดตัวเองเป็นเจ็ดร้อยคนแรกเสร็จแล้วก็ปล่อยเดินเล่นในสวนสยาม, เปิดเพลงโคโคทามะให้น้องคนนึงฟัง first time
      • อาาา บอกเลยฉันชอบเธออออ
    • พอได้เวลานัดก็ทยอยกลับมา เราเป็นคนกลุ่มท้ายๆ ที่กลับเข้ามาที่ถ่ายเอ็มวี
    • ทีนี้ทางเดินมาจุดพักมันสวนกับลานที่ถ่าย ก็เหมือน stack datatype คือคนมาทีหลังก็ได้เดินออกไปยืนตรงถ่ายเอ็มวีก่อน
      • และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมทีม CPE48 ถึงได้อยู่ตรงนั้นเยอะมากๆ
    • เทคแรกๆ ถ่ายไม่มีเมมเบอร์ ก็เหนื่อยดี สองสามรอบมั้ง
    • พอเมมเบอร์ออกมาเท่านั้นแหละ ทุกอย่างเปลี่ยน
    • ถ่ายกันอีกพักนึงมั้ง พักหลังๆ นอกจากร้อนก็ไม่มีสมาธิละ มองเมมเบอร์อย่างเดียว

    กระบวนการจับมือ — ภาพจาก https://blogs.msdn.microsoft.com/kaushal/2013/08/02/ssl-handshake-and-https-bindings-on-iis/

     

    • แล้วก็งานจับมือรอบเข็มกลัด เป็นงานจับมือ first time
      • สั่งเข็มกลัดอันเดียว ตอนแรกบ่นเรื่องค่าส่งมหาศาล ไปๆ มาๆ คุ้มสุดโว้ยย 250+70 ได้เข็มสอง รูปหนึ่ง บัตรหนึ่ง
    • เราไม่อยากจับมือสักเท่าไหร่เอาเข้าจริง คือรู้สึกมันพิเศษกว่าที่จะมาจับไอดอล (เอากันตรงๆ คืออยากเก็บไว้จับมือแฟน)
      • เคยโดนคนที่ดูใจขอจับมือครั้งนึง นั่งเขินไปเกือบครึ่งชั่วโมงอ่ะ
      • ไม่ได้ไม่อยากไปนะ แต่อยากยืนพูดเฉยๆ
    • ไลฟ์ตอนเช้าไม่มีอะไรน่าพูดถึงมาก มีสตีฟจ๊อบมา keynote หลังโชว์
    • ไปกินข้าวและกลับมาช้า พบว่าแถวเฌอยาวมาก แล้วมันยาวแบบนี้

    • เผื่อใครมองไม่ออก มันคือซิกแซกสามชั้นตรงเลนเฌอ แล้วมาซิกแซกข้างนอกอีก
    • เรามาตอนก่อนปิด ~20 นาที ได้เข้าเป็นกลุ่มสุดท้ายๆ
      • ถ้าตีว่า process คนนึงใช้เวลา 15 วิ ก็ประมาณ 80 คนหน้าเราอ่ะแหละ
    • คิดไว้จากบ้านแล้วว่าจะพูดอะไรบ้าง: “ขอบคุณที่เป็นแรงบันดาลใจให้ เราเป็นกำลังใจให้เฌอ เฌอเป็นกำลังใจให้เราด้วยนะ”
      • เราตั้งชื่อ subdomain ที่โยนงานทีเอเทอมนี้ไว้ที่ https://cherprang.srakrn.me/
        • ไม่ได้ hype ไอดอลขนาดต้องเอามาตั้งชื่อ แต่เฌอคือคนนึงที่เรานับถือ มีความ maturity และความรับผิดชอบสูงมาก
          • พูดแบบไม่อวยคือเรารู้สึกเรากับเฌอมีอะไรร่วมกันอยู่บ้าง เช่น ชอบคนอบอุ่นและเก่งกว่าเหมือนกัน อยากทำอะไรใหม่ๆ บลาๆ
            • เฌอเป็นกัปตันเราเป็นเฮดภาค เรียกเราแคปแทนสิ
            • เออ โคตรแทนเลย hype ไอดอลที่ “เก่งกว่า” เนี่ย
      • มาคิดอีกทีอยากบอกเฌอว่า “เหนื่อยหน่อยนะ สู้ๆ นะ” ก็เลยกะจะตัดตรงขอกำลังใจจากเฌอออก
        • มางานจับมือนี่จริงๆ คือมาขอบคุณคนที่ทำให้เห็นว่า consistency ในการทำงานที่ดีเป็นแบบไหน
          • โคตรแทนอีกแล้ว
    • รู้ตัวอีกทีก็คิวต่อไป
    • ยื่นบัตรจับมือ สวัสดีเฌอหนึ่งครั้ง เฌอยื่นมือให้จับ
    • เดินเข้าไปจับมือ
      • สุดท้ายก็จับ
      • เฌอแอบบีบมืออยู่นะ ไม่ได้จับหลวมๆ
    • “สวัสดีนะเฌ เหนื่อยหน่อยนะครับ เราเป็นกำลังใจให้นะ”
      • เฌอยิ้ม
    • “ก็ ขอบคุณที่เป็นแรงบันดาลใจให้ตลอด เราเป็นกำลังใจให้เฌอ เฌอเป็นกำลังใจให้เราด้วยนะ”
      • สุดท้ายก็ขอกำลังใจ
      • “ค่าา สู้ๆ นะ” แคป
    • เชี่ย เวลาเหลือ
    • เฌอเพิ่งมีชื่อในเปเปอร์เรื่องการพิสูจน์ผลทางไฟฟ้าเคมีของ blue bottle experiment (ขก.หาเลข DOI มาแปะ) ก็นั่งอ่านอยู่ตอนรอเวทีไลฟ์
    • เลยบอกเฌอไปว่า “พยายามอ่านเปเปอร์เฌออยู่นะ”
      • เฌอชูกำปั้นมือขวาแล้วโอ๊สสให้หนึ่งที
    • หมดเวลาพอดี
    • เดินออกมาทางออก
      • ยืนเขินนานมากตรงทางที่เดินออก คนที่ต่อแถวจับมือ เซะกิ ทูช็อต คุยกับจ๊อบซังเลนข้างๆ แซ็วว่าฟินล่ะสิ
        • ก็ฟินนะ แต่ดีใจมากกว่าที่ได้มาขอบคุณ
          • เวลาเราทำอะไรให้ใครแล้วมีคนขอบคุณ เรารู้สึกแรงตรงนั้นผลักเราได้ดีมาก
          • ก็หวังว่าจะสามารถผลักคนที่ให้แรงบันดาลใจเราได้
    • ต่อคิวเอาเข็มกลัดต่อ
      • คิวยาวมาก เข้าใจทีมงานเปิดคิวหลายคิวไม่ได้เพราะใช้กระดาษอย่างเดียว แค่ถ้าพี่ใช้คอมบันทึกสถานะทุกอย่างก็จบหมดแล้ว
        • ตั้งแต่ถ่ายเอ็มวีแล้ว ถ้าลงทุนทำระบบเก็บทะเบียนเก็บสถานะพวกนี้หน่อย ได้ใช้หลายงานแน่ๆ
          • ไม่ได้ dev ยากอะไรเลยด้วยซ้ำ
            • จ้างทีม CPE48 ทำน่าจะไม่ต้องจ่ายสักบาท ขอเซะกิก็พอ
    • ได้เมต๋า คุณไข่ และรูปต๋า
      • ต๋าน่ารักนะแต่ไม่ได้ตามขนาดนั้น (ไม่อยู่ในลิสต์โอชิด้วย) ปล่อยทั้งรูปและเข็มรวมกันไปในราคาสองร้อย
      • เงินสองร้อยก้อนนั้นกลายเป็นที่บดกาแฟไปแล้ว
    • จบ ง่วง กลับ นอน

    สถิติการถูกพูดถึงเรื่องเอ็มวี

    จากภาพข่าวเอ็มวี

    • ทวิตเตอร์สามสี่ทวิต
    • โดนแท็กมาในเฟซบุ๊ค
    • ทุกคนเปิดรูปข่าวมาแซ็ว

    จากตอนเอ็มวีออก

    • ทวิตเตอร์แปดทวิต รวมทวิตคุยๆ กัน
    • ไอจีหนึ่ง

    ก็ once in a lifetime ดี

  • Dazai Osamu — The Setting Sun

    The Setting Sun คืองานเขียนชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของดะไซ โอะสะมุ (Dazai Osamu) เนื้อเรื่องถ่ายทอดผ่านบันทึกหรือการเล่าเรื่องของคะซุโกะ บุตรสาวจากตระกูลอำมาตย์ที่สิ้นเนื้อประดาตัวหลังจากสงครามโลกคร้ังที่ 2 จบลง

    บันทึกของคะซุโกะถ่ายทอดเรื่องราวที่เธอ — และครอบครัวของเธออันประกอบไปด้วยแม่และพี่ชายต้องพบเจอ เนื้อเรื่องของบันทึกกล่าวถึงความถดถอยของตระกูลเธอ พร้อมพูดถึงทัศนะ ปัญหาทางสังคม และการเปลี่ยนไปของญี่ปุ่นหลังสงคราม และชื่อหนังสือ “อาทิตย์อัสดง” (The Setting Sun) นั้นอาจมองว่าเป็นการ “อัสดง” อำนาจของญี่ปุ่น — เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งพระอาทิตย์ขึ้น” (The Land of Rising Sun) ก็เป็นได้

    [spoilers ahead]

    ความเศร้าในนิยายเล่มนี้อาจจะมาจากตัวของดะไซ โอะสะมุเองอยู่ไม่น้อย — เชื่อได้ว่าอาการติดฝิ่นของพี่ชายนั้นมาจากช่วงสงครามที่ดะไซเสพย์ติดยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน, การป่วยเป็น TB ของ “แม่” ในหนังสือซึ่งนำมาสู่การเสียชีวิต ก็ถอดแบบมาจากอาการป่วยโรคเดียวกันของดะไซ, และการจบชีวิตของพี่ชายและตัวดะไซเองก็มีจุดร่วมอยู่ที่การฆ่าตัวตาย — เป็นความชวนชะงักอยู่ไม่น้อย ว่า ณ มุมที่เราสัมผัสความรู้สึกที่ดำเนินไปของคะซุโกะ เราก็กำลังสัมผัสความปวดร้าว (sufferer) ของดะไซอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

    [end of spoilers]

    โดยสรุปแล้ว The Setting Sun สามารถให้ภาพที่ชวนหดหู่ของการเปลี่ยนไปในทัศนะและความรู้สึกของบุคคลบุคคลหนึ่ง ต่อการถดถอยทั้งชนชั้น ทรัพย์สิน ความคิด และความรู้สึก ผ่านภาพที่ชัดเจนและชวนให้ปวดร้าวอยู่มิใช่น้อย เป็นหนึ่งในนิยายที่สามารถทำให้ผู้อ่านจมลงกับความรู้สึก (sink in the feelings) ได้สมกับเจตนาที่ดะไซน่าจะอยากให้เป็นได้อย่างสวยงาม

  • ผมแต่งนิยายรัก

    ผมแต่งนิยายรัก
    นิยายของผมมีตัวละครเป็นผมและคุณ

    ผมแต่งนิยายรัก
    ค่อยๆ แต่งมันด้วยทุกคำพูดและการกระทำที่ให้คุณ

    คุณช่วยผมแต่งนิยายรัก
    ทุกเรื่องที่เราคุยกัน ทุกการกระทำ ทุกสถานที่ที่มีเรา มันปรากฏอยู่ในนิยายของผม

    ผมแต่งนิยายรัก
    เพราะความรู้สึกที่ “ผม” ให้ “คุณ” มันคงอธิบายเป็นอย่างอื่นไม่ได้

    นิยายรักของผมอาจจะกำลังเริ่มต้น — หรืออาจจะกำลังจบ — หรืออาจจะไม่เป็นตามโครงที่วางไว้ว่าเราสองคนอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า
    แต่มันก็เป็นนิยายรักที่ผมภูมิใจ เป็นนิยายรักที่มีตัวละครแบบที่ผมอยากให้เป็น

    และทุกครั้งที่กลับมาอ่าน ความทรงจำดีๆ คงกลับมา พร้อมกับรอยยิ้มบนใบหน้าที่ปรากฏอีกครั้ง