โดยสรุปแล้ว The Setting Sun สามารถให้ภาพที่ชวนหดหู่ของการเปลี่ยนไปในทัศนะและความรู้สึกของบุคคลบุคคลหนึ่ง ต่อการถดถอยทั้งชนชั้น ทรัพย์สิน ความคิด และความรู้สึก ผ่านภาพที่ชัดเจนและชวนให้ปวดร้าวอยู่มิใช่น้อย เป็นหนึ่งในนิยายที่สามารถทำให้ผู้อ่านจมลงกับความรู้สึก (sink in the feelings) ได้สมกับเจตนาที่ดะไซน่าจะอยากให้เป็นได้อย่างสวยงาม
การอ่านบทเกริ่นนำของเดวิด แบรดชอว์ซึ่งอยู่ตอนต้นของหนังสือ** ทำให้ทราบชัดขึ้นว่า ฮักซ์ลีย์เห็นภาพการเติบโตซึ่งพลังอำนาจของสำรัฐอเมริกา รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของลอนดอนและยุโรปในสมัยนั้นซึ่งเป็นยุคถดถอย และเป็นภาพเหล่านี้เองที่ฮักซ์ลีย์หยิบมาถ่ายทอดจนออกมาเป็นส่วนหนึ่งของแก่นของ Brave New World
ไม่ว่าจะอ่านโดยมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของการส่งสาสน์ว่าด้วยความน่ากลัวของโลกดิสโทเปีย, มองเป็นโศกนาฏกรรมของจอห์น, หรือมองว่าเป็นการ “กระแนะกระแหน” สภาพของสหรัฐอเมริกาในสมัยนั้น, Brave New World ก็เป็นหนึ่งในนิยายดิสโทเปีย ที่ถึงแม้จะไม่ได้ปลูกภาพของความน่ากลัวแห่งดิสโทเปียไว้ได้เท่ากับ 1984 แต่ก็ทำให้ภาพหลายๆ อย่างของมันชัดเจนและเป็นจริงมากขึ้น (more realistic and vivid).
* โลกวิไลซ์ ในที่นี้เป็นการเล่นกับชื่อหนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาไทย
** ฉบับที่จัดพิมพ์โดย Penguin Random House ในชุด Vintage Classic
ไม่มีข้อกังขาเลยว่าทำไม 1984 จึงเป็นนิยายระดับ “ตำนาน” ภาพของมหารัฐโอเชเนียที่ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรออกมาสามารถทำให้ผมขนลุกประหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชากรแห่งมหารัฐที่กำลังมีความคิดของตัวเอง และเพราะเหตุนี้ผมคงไม่ลังเลที่จะแนะนำว่า 1984 เป็นนิยายที่ทุกคนควรอ่านสักครั้ง (for once in a lifetime)
ไม่แปลกเลยว่า We นับเป็นจุดเริ่มต้นของนิยายแนวดิสโทเปียจำพวกโลกหนึ่งอำนาจ แม้รายละเอียดบางส่วนอาจจะไม่ครบครันเท่านิยายรุ่นน้อง แต่ก็สามารถถ่ายทอดภาพของรัฐอำนาจเบ็ดเสร็จในหลายแง่มุมผ่านตัวละครที่ถูกล้างสมองแล้วได้เป็นอย่างดี
(อ่านจบหลัง 1984 แต่เขียนถึงก่อน 1984 และซื้อมาหลัง Brave New World แต่หยิบมาอ่านก่อน ฮา)