Category: Education

  • Fundamental HTML+CSS: Grid system

    บทความนี้อุทิศให้ไข่แห่ง CPE30 ผู้ขยันทำงาน 😛

    การจัดหน้าเว็บไซต์ในปัจจุบันนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามตามนิยามของแต่ละคนแล้ว ยังต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบ

    หนึ่งในปัจจัยที่มีผลในปัจจุบันคือขนาดของหน้าจอ ปฏิเสธไม่ได้ว่าขนาดหน้าจอที่ต่างกันนั้นทำให้เกิดความ “หลากหลาย” ของเว็บไซต์

    หากทดลองเข้าบล็อกนี้จากโทรศัพท์ จะพบว่าส่วนแถบด้านข้างหายไปอยู่ด้านบน เทคนิกการจัดหน้าแบบนี้เรียกว่า “responsive” ซึ่งโดยเบื้องต้นจะกล่าวถึงการจัดหน้าโดยใช้ระบบ Grid อย่างง่าย

    กริดคืออะไร

    ในการออกแบบเว็บหลายๆ ครั้ง เราอาจแบ่งเป็น “แถบ” หลายๆ แถบ การออกแบบเว็บที่มีแถบด้านข้าง ก็อาจมองได้ว่าเราแบ่งเว็บในส่วนนอกเหนือจากหัวเป็น “แถบ”

    เป็นเรื่องง่ายดายที่ในปัจจุบัน เราสามารถใช้ระบบ “แถบ” ที่คน “ทำ” ไว้ให้ล่วงหน้าแล้ว เราเรียกระบบนี้ว่า “ระบบกริด”

    Screen Shot 2559-07-30 at 9.50.46 PM

    กริดที่จะใช้ในบทความนี้ จะใช้ชุดกริดจาก flexbox grid ซึ่งสามารถแบ่ง “แถบ” ย่อยได้เป็น 12 แถบ

    ข้อดีของระบบกริดสมัยใหม่ คือสามารถสั่งให้ความกว้างของแต่ละ “โซน” ต่างกันในแต่ละขนาดหน้าจอได้ เราอาจใช้ความสามารถนี้ในการ “ย้าย” เมนูแถบสีเหลืองไปไว้ต่อบน-ล่างกับเนื้อหาส่วนสีน้ำเงิน

    Screen Shot 2559-07-30 at 9.53.33 PM

    เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา จะอธิบายวิธีการใช้ระบบกริดได้ดังนี้

    การใช้งานกริด

    เริ่มต้นใช้งานกริด

    ขั้นแริ่มแรกของการใช้กริด คือการเพิ่มไฟล์ CSS ของกริดไว้ในส่วน HTML Header ทำได้ด้วยการโหลดไฟล์กริดมาไว้ในที่ที่ตายตัวหนึ่งที่ แล้วใช้คำสั่ง <link> เพื่อสร้าง stylesheet

    <link href="path/to/flexboxgrid.css" rel="stylesheet" type="text/css">

    หากผู้อ่านเป็นนิสิต CPE30 ที่ต้องการสร้างไฟล์เพื่อส่งอาจารย์ อาจทำได้ด้วยการ hotlink (ไม่ต้องอัพไฟล์) ด้วยการแปะโค้ดตามนี้ในส่วน header

    <link href="https://srakrn.me/css/flexboxgrid.css" rel="stylesheet" type="text/css">

    ออกแบบหน้าเพจ

    เราจำเป็นต้อง “คิด” ก่อนว่าจะ “แบ่ง” เว็บของเราเป็นกี่ส่วนตามแนวนอน ซึ่งสมมติว่าหน้าเว็บเป็นทรงมาตรฐานดังรูปข้างบน

    เราอาจแบ่งเว็บทรงนี้เป็น 2 แถวตามแนวนอน คือส่วนหัวหนึ่งแถว กับส่วนเนื้อหาและส่วนเมนูด้านข้าง ตามกรอบสีแดงข้างบน

    Screen Shot 2559-07-30 at 9.55.41 PM

    ในการสร้างแถวตามแนวนอนใหม่ สามารถสร้างได้ด้วยคำสั่ง <div class=”row”>

    ในที่นี้อาจประกาศ row สองแถวได้ดังนี้

    <div class="row">
    </div>
    <div class="row">
    </div>

    การประกาศแถว เราจะประกาศด้วย <div> โดยประกาศ class ดังภาพ

    Screen Shot 2559-07-30 at 10.11.18 PM

    โดยที่

    • col-xs- คือกินพื้นที่กี่ “แถบ” บนจอขนาดเล็กมาก เช่นโทรศัพท์เก่าๆ
    • col-sm-คือกินพื้นที่กี่ “แถบ” บนจอขนาดเล็ก เช่นโทรศัพท์ใหม่ๆ
    • col-md- คือกินพื้นที่กี่ “แถบ” บนจอขนาดเล็ก เช่นไอแพดแนวตั้ง
    • col-lg- คือกินพื้นที่กี่ “แถบ” บนจอขนาดใหญ่ เช่นคอมพิวเตอร์

    ทั้งหมดตามด้วยตัวเลขว่ากินพื้นที่กี่แถบ มากสุดคือ 12

    ในส่วนของหัวแถวแรก เราสามารถประกาศ “แถบ” ที่กว้าง 12 หน่วยอย่างเสมอต้นเสมอปลายได้เลย

    <div class="row">
        <div class="col-xs-12
                    col-sm-12
                    col-md-12
                    col-lg-12">
            <h1>ส่วนหัว</h1>
        </div>
    </div>
    <div class="row">
    </div>

    ในส่วนของหัวแถวแรก เราสามารถประกาศ “แถบ” ที่กว้าง 12 หน่วยอย่างเสมอต้นเสมอปลายได้เลย

    <div class="row">
        <div class="col-xs-12
                    col-sm-12
                    col-md-12
                    col-lg-12">
            <h1>ส่วนหัว</h1>
        </div>
    </div>
    <div class="row">
    </div>

    และในส่วนเนื้อหา เราอาจประกาศได้ดังนี้

    เมนู: เล็กมากๆ ให้กว้างทั้งจอ ถ้าใหญ่ให้กว้าง 3 ส่วน
    เนื้อหา: เล็กมากๆ ให้กว้างทั้งจอ ถ้าใหญ่ให้กว้าง 9 ส่วน

    อาจเขียนเป็น HTML ได้ดังนี้

    <div class="row">
        <div class="col-xs-12
                    col-sm-12
                    col-md-12
                    col-lg-12">
            <h1>ส่วนหัว</h1>
        </div>
    </div>
    <div class="row">
        <div class="col-xs-12
                    col-sm-12
                    col-md-3
                    col-lg-3">
            <h2>เมนูด้านซ้าย</h2>
        </div>
        <div class="col-xs-12
                    col-sm-12
                    col-md-9
                    col-lg-9">
            <p>เนื้อหา</p>
        </div>
    </div>
    

    เป็นการใส่โครงให้กับ HTML เพื่อกำหนดความกว้างโดยคร่าว

  • รีวิว Bamboo Fineline 2

    รีวิว Bamboo Fineline 2

    ในบรรดาปากกาสไตลัสต่างๆ นั้น หนึ่งในแบบที่นิยมใช้มากที่สุดคือปากกาซึ่งเชื่อมต่อด้วยบลูทูธได้

    ปากกาซึ่งเชื่อมต่อบลูทูธได้มีจุดโดดเด่นสองจุดเหนือปากกาชนิดอื่นคือ สามารถรองรับแรงกดของปากกา และรองรับการตรวจจับฝ่ามือ (palm detection) บนหน้าจอของไอแพดได้

    ผมมีโอกาสซื้อ Bamboo Fineline 2 จากค่ายผู้ผลิตปากกาชื่อดัง Wacom มาใช้ จึงมาเขียนรีวิวครับ

    ตัวปากกา

    ปากกาของ Wacom นั้นทำจากมั้งอะลูมิเนียมและพลาสติก มาในสีให้เลือกสี่สีคือฟ้า ทอง ดำ และเทา

    ส่วนหัวปากกาเป็นจุดขนาดเล็ก ขนาดต่างจากปากกาหัวยางอย่างเห็นได้ชัด

    IMG_1395

    (ขออภัยที่โฟกัสไม่ไป)

    ก้นปากกามีพอร์ต MicroUSB ไว้สำหรับชาร์จ

    IMG_1396

    ในด้านวัสดุถือว่าทำออกมาได้ “โอเค” ไม่ได้แย่แต่ก็ไม่ได้ดีโดดเด่น โดยส่วนตัวมองว่าตรงปลอกปากกาดู “ถูก” (looks cheap) ไปหน่อย ซึ่งอาจเป็นเพราะผมนำวัสดุและดีไซน์มันไปเทียบกับปากกาที่ส่วนตัวนับว่าเป็นเป็น fine writing instrument อย่างลามี่ (ซึ่งออกแบบที่หนีบได้สวยมาก) ก็เป็นได้ แต่ถึงกระนั้นต้นทุนปากกาและฮาร์ดแวร์ภายในก็ต่างกันมาก การนำมาเทียบแบบนี้ไม่ถูกสักเท่าไหร่

    IMG_1391

    การใช้งาน

    ข้อเสียอย่างหนึ่งของปากกาตระกูลบลูทูธคือ แอปที่รองรับนั้นมีน้อยมาก เพราะต้องใช้ SDK เฉพาะของผู้ผลิตปากกา ซึ่งเมื่อเทียบกับ Apple Pencil ซึ่งรองรับการวางมือมาในระบบปฏิบัติการเลย ทำให้คะแนนด้านแอปที่รองรับห่างกันแบบไม่เห็นฝุ่น (ส่วนข้อดีคือราคา ยิ่งผมซื้อ iPad ลดราคามาด้วยยิ่งถูก ฮา!)

    แต่ด้วยจุดประสงค์ของการจดโน้ต แอปจดโน้ตชื่อดังในตลาดอย่าง GoodNotes และ Notability ต่างก็รองรับการต่อกับบลูทูธ ซึ่งทำให้ไม่มีปัญหาอะไร
    อันที่จริงแล้วจุดประสงค์ที่เลือก iPad แทนที่จะเป็นแท็บเล็ตตระกูลที่มีปากกามาให้ ส่วนหนึ่งเพราะผมหา solution จดโน้ตบน PDF (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสไลด์และหนังสือเรียน) ที่ดีกว่าหรือเทียบเท่า GoodNotes บนแพลทฟอร์มอื่นไม่ได้แล้ว

    ก่อนใช้งานครั้งแรกจำเป็นต้องชาร์จไฟ ในคู่มือระบุเวลาไว้ที่ 45 นาที

    ใน GoodNotes การตั้งค่าปากกานั้นจะอยู่ที่เมนูหลักมุมบนขวา ซึ่งวิธีการ pair ปากกาก็เพียงแค่จิ้มหัวปากกากับปุ่ม ปากกาจะทำการ pair อัตโนมัติ

    ในการใช้ปากกาครั้งต่อๆ ไป เพียงกดปุ่มบนตัวปากกาขณะเปิดแอปที่รองรับ ตัวปากกาจะ pair และเชื่อมต่อให้เอง

    ในแอปสามารถตั้งค่าให้ปุ่มบนปากกาทำหน้าที่เป็น shortcut ได้ ผมตั้งให้เป็นปุ่ม undo

    IMG_0064

    สิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ อันที่จริงแล้ว สำหรับปากกาแบบ active stylus ซึ่งใช้การปล่อยไฟฟ้าจากหัวปากกา หากเอียงเขียนแล้วตัวจุดปล่อยไฟฟ้าจะเกิดการเหลื่อมกับปลายปากกา ดังนั้นในแอปพลิเคชั่นจะมีให้ตั้งค่าการจับปากกา ซึ่งเมื่อตั้งค่าส่วนนี้ โปรแกรมจะทำการ “เลื่อน” จุดที่เขียนให้มาอยู่ที่ปลายปากกาตาที่เล็งไว้ตั้งแต่แรก

    IMG_0068

    การตั้งค่าตรงนี้จะมีผลกับระบบ palm reject ในแอปฯ ส่วนหนึ่งด้วย

    IMG_0066

    สำหรับ GoodNotes นั้นถือว่าทำออกมาได้โอเคมาก เมื่อเขียนโน้ตโดยใช้ช่องซูมขยาย ไม่พบปัญหาหรือข้อรังควานใจมากนัก ยกเว้นบางที่ที่สไตลัสไม่ส่งข้อมูลว่าปากกาถูกจรดบนจอแล้ว ทำให้เส้นขาดหายไปบ้าง (ซึ่งเจอบ่อยๆ ก็หงุดหงิดอยู่)

    ปากการองรับแรงกด แต่ไม่แน่ใจจดโน้ตต้องใช้ด้วยหรือเปล่า (pun not intended)

    IMG_0067

    ทั้งนี้การเขียนตัวอักษรเล็กๆ โดยไม่ซูมนั้น จอจะไม่สามารถตรวจจับเส้นโค้งที่รัศมีสั้นมากๆ ได้ ซึ่งเป็นปกติของสไตลัสประเภทนี้อยู่แล้ว

    GoodNotes บันทึกอักษรทั้งหมดเป็นเวกเตอร์ นั่นหมายถึงขยายไม่แตก ซึ่งผมชอบมาก ทั้งนี้สามารถดูตัวอย่างไฟล์ PDF ที่ export ออกมาได้ที่นี่

    นอกจาก GoodNotes แล้ว Wacom ยังทำแอปชื่อ Bamboo Paper มาด้วย

    Bamboo Paper นั้นจะให้ชนิดสมุดและปากกามาจำกัด เมื่อเชื่อมต่อ Stylus ระบบจะ “แถม” ดินสอ และสมุดสองชนิดในแอปให้

    ทั้งนี้ เหลือเครื่องเขียนอีกสามแบบ (ปากกาหัวหนา สีน้ำ สีเทียน) และสมุดอีกหนึ่งแบบ (สมุดกระดาษวาดเขียน) ซึ่งสามารถซื้อผ่าน In-App Purchase ในราคา 99 บาท หรือปลดล็อกได้โดยซื้อสไตลัสรุ่นแพงกว่านี้

    ความรู้สึกแรกหลังจากทราบว่าได้ปากกาไม่ครบชุดคือ “อ๋อเหรอ ค่าสไตลัสสองพัน ยังจะมาเก็บอีก 99 บาทเหรอ”

    IMG_0069

    การวาดเขียนโดยทั่วไปทำได้ดี ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก

    ตัวอย่างรูปที่วาดคือรูปอธิบายการทำงานของ Active stylus ข้างบน จะเห็นว่าพยายามลงเส้นหนักเบาตรงส่วนแรเงา ซึ่งปากกาทำได้ดี แต่คนวาดมีปัญญาวาดได้แค่นี้ 😀


    สรุป

    ถึงแม้ว่าปากกาจะทำได้ดี แต่การเทียบกับตลาดแท็บเล็ตที่ผู้ผลิตทำปากกาออกมาเฉพาะเลย ก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะเทียบตัวปากกาได้

    ทั้งนี้ หากมองตลาดแอป iOS ที่รองรับปากกานี้ หากต้องการซื้อมาใช้เพื่อจดโน้ต ปากกานี้ก็ทำหน้าที่ของมันได้ดี โดยเฉพาะสำหรับคนที่ใช้ iPad อยู่แล้วครับ

  • ทัศนะของข้าพเจ้าต่อวิธีแก้ปัญหาการรับเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทย

    เห็นอาจารย์อุ๊เขียนเรื่องระบบการรับเข้าศึกษาต่อในระดับสถาบันอุดมศึกษาไว้

    เพื่อเด็กๆทุกคน Posted by Uraiwan Sivakul on Tuesday, February 16, 2016
    ก็เหมือนเดิม มาตรฐานในการรับเด็กเข้าศึกษาต่อมันแย่ในสายตาเรามานานแล้ว เลยคิดว่าถ้าเป็นเราเราจะทำยังไง

    การรับนักเรียน

    เราชอบระบบตอนนี้ที่เป็นรับสองรอบ คือรอบรับตรง และรอบรับผ่านแอดกลาง ขอให้คงไว้ซึ่งระบบ Clearing house (เราว่ามันดีมาก) เพื่อโอกาสในการรับเด็กรอบหลังจากที่เหลือ วิธีนี้เราจะมั่นใจได้ว่าไม่มีการกั๊กที่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ และไม่มีการสอบแย่งกันจริงๆ (เพราะโดนตัด Clearing house ตัดแอดไปแล้ว)

    ข้อสอบ

    ปัญหาหลักมันคือข้อสอบ แก้อย่างไรก็ไม่เคยหมดปัญหา เป็นเราจะแก้ตามนี้

    ซอยวิชา

    เรามองว่าข้อสอบควรซอยวิชาออกมาให้เยอะที่สุด ตัวอย่างคือ เลข ให้ซอยเป็นสามระดับ
    • Math-A แบบง่าย
    • Math-B แบบปานกลาง
    • Calculus บทมันใหญ่ ถ้าเยอะจริงๆ ก็แยกออกมาเลย
    (Calculus นี่มาคิดทีหลังตามพี่ต้นกล้าบอก เอาเข้าจริงก็ไม่จำเป็นขนาดนั้น ใส่ Math-B เถอะ) วิทย์ ก็ซอยเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ข้อสำคัญคือต้องไม่มีเวลาสอบตัวไหนซ้อนกัน วิชาสามัญปี 2559 เป็นปีแรกที่เพิ่มเลขง่าย วิทย์ง่าย แต่เอาเวลาไปซ้อนกับเลขยาก วิทย์ยาก ทำให้คนที่อยากเข้าสายวิทย์ แต่เล็งสายศิลป์ไว้เป็นแผนสำรองต้องเปลี่ยนแผนสำรองใหม่ เพราะไม่สามารถสอบทั้งเลขยาก เลขง่าย ฟิสิกส์ และวิทย์ง่าย พร้อมกันเพื่อเอาไปยื่นคะแนนให้ครอบคลุมได้

    ทิ้ง GAT/PAT บางวิชา

    มองว่าควรทิ้ง
    • GAT อังกฤษ เอาไปเป็น Fundamental English แล้วเอาวิชาสามัญมาเป็น Additional English (พูดกันในแง่ความยากของข้อสอบ)
    • PAT1 เพราะยากเกินไป (ยกเว้นปีล่าสุด ข้อสอบดีมาก สมควรเอาแบบนี้มาใส่วิชาสามัญ – แต่ถ้าตามข้อเสนอเราก็จะยุบเป็น Math-A Math-B อยู่แล้ว)
    • PAT2 ในเมื่อวิทย์ทุกตัวมีสอบแยกแล้วตามข้างบน
    จากเงื่อนไขสองข้อข้างต้น เราจะได้วิชาดังนี้

    GAT

    • เชื่อมโยง

    PAT

    • วิศวกรรม
    • สถาปัตยกรรม
    • ครู
    • ศิลปศาสตร์
    • ภาษา ซอยย่อยเหมือนเดิม

    วิชาสามัญ

    • คณิตศาสตร์
      • Math-A ง่าย
      • Math-B ยากกว่า Math-A
      • Calculus
    • วิทยาศาสตร์
      • ฟิสิกส์
      • เคมี
      • ชีววิทยา
      • โลก ดราศาสตร์ ธรณีวิทยา
      • วิทย์พื้นฐาน และทักษะทางวิทยาศาสตร์
    • ภาษาไทย
    • ภาษาอังกฤษ
      • พื้นฐาน
      • เพิ่มเติม
    • สังคม (เราไม่รู้ควรซอยย่อยไหม)
    เห็นด้วยกับพี่ต้นกล้าว่า GAT  เชื่อมโยงไม่ช่วยให้เด็กคิดเป็นเหตุผล เสนอให้เปลี่ยน GAT เชื่อมโยงเป็น Logic Test 101 มีตรรกะวิบัติมาให้ทดสอบ

    คงความเสมอต้นเสมอปลาย

    ข้อสอบมาตรฐานอย่าง SAT/IELTS/TOEFL จะมีอายุคะแนนที่ 2-3 ปี เพราะเค้าสามารถออกข้อสอบให้ “เสมอต้นเสมอปลาย” ไม่ยากเหวี่ยงง่ายเหวี่ยงได้ อายุของคะแนนคือกันเด็กไม่ได้ทบทวนแล้วทักษะต่ำลง แต่กับ GAT/PAT และวิชาสามัญ มันยากเหวี่ยง ง่ายเหวี่ยง (ไม่เชื่อไปดูฟิสิกส์ 57-58-59 เทียบ – เราทำฟิสิกส์ 58 ได้แบบ "เขี่ย" เลย "มองตอบ" เลย) พอข้อสอบเหวี่ยง เลยต้องสอบปีต่อปี เสียเวลาเปล่า วัดเด็กไม่ได้

    เฉลยข้อสอบ

    วิธีการที่แฟร์ที่สุดเลยนะ
    • ตรวจข้อสอบเสร็จ สแกนกระดาษคำตอบให้นักเรียน login เข้าไปดูสองอย่าง
      • 1 – กระดาษคำตอบแผ่นนี้ใช่ของตัวเองไหม
      • 2 – ผลการอ่านจากเครื่องอื่นกระดาษคำตอบ ตรงกับที่ฝนไหม (ขึ้นรูปกระดาษคำตอบ ขึ้นว่าเครื่องอื่นได้ว่าฝนเลขอะไร แล้วก็ไปทาบกันเอง)
    • เผยแพร่ข้อสอบ พร้อมเฉลยเรียงข้อ พร้อมวิธีทำหลังสอบเสร็จสามวัน
    • ให้เวลา 7 วัน ติวเตอร์ ครู นักเรียน ช่วยกันตรวจเฉลย เจอข้อผิดพลาด (เฉลยผิด) ส่งเรื่องให้สทศ.
    • สทศ. ทำหน้ารายละเอียดว่าข้อไหนเฉลยว่ายังไง ใครแย้งว่ายังไง แล้ว follow up เรื่อยๆ เพื่อความโปร่งใส
    • Blacklist กรรมการออกข้อสอบที่เฉลยผิด อย่าให้คนไร้คุณภาพทำระบบทดสอบเสียหาย
    • จบกระบวนการนั้นค่อยคิดคะแนน ขึ้นคะแนนให้นักเรียนดูทีหลัง
    ระบบทุกอย่างออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางไปสทศ. เพียงแค่จะไปดูกระดาษคำตอบ เรื่องร้องเรียนมันควรจะทำให้ง่ายที่สุด เพื่อให้เด็กรู้จักรักษาสิทธิ์ของตัวเองด้วย เพิ่มเติมเป็นความรู้: อินเดียสอบวิศวกรรมศาสตร์ในชื่อ JEE (http://jeemain.nic.in/webinfo/Public/Home.aspx) สอบเสร็จข้อสอบเปิด Public ส่วนเฉลยเอารหัสสอบ Login ไปดู

    จำนวนครั้งที่สอบ

    ให้สอบทุกเดือนก็ถี่ไป (มองในแง่สทศ.) งั้นให้โอกาสสอบสามครั้งไหม? ถือว่าตามตาราง GAT-PAT และวิชาสามัญในปัจจุบัน

    วิชาแปลกๆ

    เช่น Critical reading ของ SMART-1 ก็ให้ไปสอบแยกเอาเอง เภสัชศิลปากรอยากจัดสอบวิทยาศาสตร์เด็กแบบภาษาอังกฤษ เลยจัดสอบ PSAT ที่สอบเคมี ชีววิทยา เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเอาคะแนนมาถ่วงวิชาสามัญอีกที จะทำแบบนี้ก็ได้ สุดท้ายวิชาแปลกๆ ให้มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง แล้วค่อยเอามาถ่วงน้ำหนักกับผลทดสอบการศึกษาระดับชาติ

    เกณฑ์การคัดเลือกบุคคล

    ความ "น่ามึนงง" ของสอท. ในสายตาเราคือคัดเด็กเข้าวิศวะด้วย PAT2 ที่มีชีววิทยานั่นแหละ -_- ดังนั้นถ้าระบบการสอบมันเปลี่ยนแล้วเรา eliminate PAT2 ทิ้งได้ ก็เป็นการบังคับให้ใช้วิทย์ที่แยกรายวิชามาคิดคะแนน ดังนั้นจะไม่เอาชีววิทยามาคิดก็ได้

    การเทียบคะแนนของคณะนานาชาติ

    พอข้อสอบเผยแพร่ออกมา เราว่าคณะนานาชาติที่รับทั้งคะแนนไทย และคะแนน Standardised ก็หาเกณฑ์เทียบคะแนน ทั้งเพื่อคัดเกณฑ์ขั้นต่ำ และเทียบคะแนนเด็กเลย ตรงนี้จะยากหน่อยว่าจะเทียบข้อสอบสองชุดอย่างไร แต่อย่างน้อยจะไม่มีปัญหาเหมือน IUP KU ที่ไม่บอกว่า GAT-PAT ต้องผ่านเท่าไหร่ถึงจะมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ในขณะที่พอเป็น Standardised test บอกไว้ชัดเจนเพราะรู้ว่าคะแนนไม่เหวี่ยง ปัญหามันไม่ได้ใหญ่เลย แค่จับจุดแก้กันไม่ถูก เราก็ยอมรับแหละว่าพูดแล้วง่ายกว่าทำ แต่มันมี solution ที่ดีกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้แน่ๆ อ่ะ รับประกัน