Category: Review

  • Loving Vincent

    Loving Vincent

    (ย่อหน้าสุดท้ายเป็นสรุป)

    เรียนตามตรงว่าผมไม่ใช่คนชอบดูหนัง ยิ่งการเขียนรีวิวหนังยิ่งไม่ใช่จริตที่ผมพึงกระทำเลย
    Loving Vincent คงเป็นข้อยกเว้น — ด้วยโปรดักชั่นที่เกิดจากการวาดภาพมากกว่าหกหมื่นหกพันเฟรมก่อนนำมาต่อกันเป็นภาพยนตร์ยาวชั่วโมงครึ่ง ผมอาจนับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็น “อาร์เรย์ของงานจิตรกรรม” ที่ถูกกระพริบใส่ตาผมมากกว่าเป็นภาพยนตร์ก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีวิธีใดที่จะ “เชิดชู” ฟาน กอกฮ์ ได้ดีกว่าการถ่ายทอดชีวิตของเราออกมาผ่านภาพวาดในแบบที่เป็นเขามากที่สุด

    แน่นอนว่าด้วยความที่หนังเรื่องนี้อุทิศให้กับฟาน กอกฮ์ ผู้กำกับจึงเลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านภาพเขียนต้นฉบับของเขาได้อย่างชาญฉลาด
    ภาพวาด Starry Night (อันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเป็นงานเขียนอมตะกาลของเขา), ภาพของคุณหมอกาเชต์ และภาพวาดตัวเองของฟาน กอกฮ์ (ฉบับปี 1989) ยามปรากฏในหนัง ทำให้ผมขนลุกได้ไม่ยาก

    การเล่าเรื่องทำได้อย่างกระชับ การถ่ายทอดกระแสอารมณ์ของศิลปินที่เลือกอัตนิวิบากกรรม ผ่านการเลือก “สัมภาษณ์” ตัวละครในชีวิตของฟาน กอกฮ์ เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ถือว่าไม่เลว ยิ่งเมื่อได้มองว่าคนรอบข้างของเขาเลือกที่จะจดจำเขาในภาพที่ต่างกันไป มุมมองชีวิตของเขาต่างกันไปปากต่อปาก
    ต้องยอมรับว่า ณ ช่วงที่ออกจากโรงหนังค่อนข้าง “ตัน” กับความรู้สึก เพราะโดนการกระทบทางอารมณ์ (emotional impact) จากตัวภาพยนตร์ไปไม่น้อย)

    โดยสรุปแล้ว Loving Vincent เป็นหนังที่เล่าและถ่ายทอดเรื่องราวของฟาน กอกฮ์ ได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งในแง่ของตัวเรื่อง วิธีการถ่ายทอด และที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือตัวสื่อที่เลือกถ่ายทอดออกมาอย่างฉลากและเฉียบคม
    น่าจะไม่มีภาพยนตร์ไหนที่ว่าด้วยเขา จะสามารถถ่ายทอดความเป็นฟาน กอกฮ์ ออกมาได้เท่านี้แล้ว

  • Formal Photo 101

    ต้องการรูปตัวเองที่จริงจังพอมาตั้งแต่มัธยม เพิ่งมาประสบความสำเร็จเมื่อวันนี้

    ในฐานะคนที่ ลอง มาแล้ว หลายหน ก็ขอมาบันทึกวิธีการถ่ายที่ดีเอาไว้หน่อย

    • แสงต้องแข็งพอระดับนึง
      • ความพยายามในการแต่งรูปทุกครั้งจบที่การลด contrast/clarity เพื่อให้ภาพสมูธ แต่ถ้าทำแบบนั้นแล้วแสงไม่แข็ง ภาพจะเหมือนออกมาจากกล้องฟรุ้งฟริ้งทันที
      • หาฉากขาวๆ ถ่ายกลางแจ้งตอนที่แดดกำลังโอเค หรือไม่ก็ใช้เลนส์กว้างๆ จะไดคัทไปแปะฉากง่ายขึ้นมาก
        • ถ้าอยากได้ฉากขาวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากระดาษมาแปะเลย
    • ถ่าย
      • f เยอะได้จะดีมาก ผมช่วงหลังจะไม่หลุดโฟกัสแล้วจะไดคัทง่าย แต่แลกมาด้วยฉากไม่ละลาย ถ้าเป็นฉากไม่สีล้วนก็ตาย
      • วิธีถ่ายรูปของเราให้หน้าเดียว: ยิ้มหาเสียงให้เป็น
    • ฉากต้องสวย
      • ถ้าจะ corporate จ๋าก็อาจจะถ่ายในสำนักงานได้ แต่ไม่แนะนำ
      • backdrop ที่เป็นลายๆ แบบหนังๆ ส่วนตัวไม่ชอบ
      • อันที่ชอบเพราะแปลกตา คือ portrait shot ของ Google ที่พื้นหลังเป็น gradient แต่ชอบไม่สุด
      • รูปชุดที่ชอบที่สุด (จนต้องก็อป backdrop มาใช้) คือของอาจารย์ CPE รู้สึกเรียบ แต่ทรงพลังมาก
        • ฉากสีเทาที่ดี (หมายถึงที่ตัวเองชอบ) ให้เจือสีน้ำเงินลงไปนิดนึง จะไม่ดู monochrome
    • posture ต้องเป๊ะ
      • หน้าหันเงยขึ้นเล็กน้อย ห้ามถ่ายจากมุมเสย
        • ทุกครั้งที่ถ่ายรูปแนวนี้เพื่อนที่ถ่ายให้จะเตี้ยกว่าตลอด วันนี้เปลี่ยนไปรบกวนเพื่อนที่สูงพอๆ กัน ทุกอย่างจบ
      • ที่ไม่เคยใส่ใจเลยจนวันนี้เห็นคือไหล่ ถ้าเชิดไหล่ขึ้นจากด้านหน้า ไหล่ต้องไม่ตกเยอะ (คือความชันไหล่หน้าต้องน้อยกว่าไหล่หลัง) และแน่นอนว่าที่เคยลอง มาแล้ว หลายหน ไหล่หน้าตกตลอดหมดเลย
    • วิธีการไดคัทผมที่ดีที่สุด
      • ไดคัทตามปกติ (ใช้ adjust tools ช่วย)
      • Shrink selection 1px, inverse selection แล้วกดลบจนกว่าขอบขาวจะหาย
  • 2016 in review

    2016 in review

    • ปี 2016 เป็นปีที่ค่อนข้างเหนื่อยอย่างบอกไม่ถูก ทั้งการเปลี่ยนแปลงและหลายสิ่งที่พบเจอ บางอย่างทิ้งทวนมาจากปี 2015 ในขณะเดียวกันก็เป็นปีที่ทำให้ได้พบตัวเองลึกๆ เหมือนกัน
    • ตั้งแต่ช่วงต้นปีก็ทะเลาะกับแฟนเก่า จนห่างออกไปตั้งแต่กุมภาพันธ์สิริรวมเวลาที่คบกันก็เกือบจะสามปี (เกือบจริงๆ ขาดไปวันเดียว)
      • ก็ทำให้รู้ว่าตัวเองนั้นก็งี่เง่าพอตัว และหลังจากนั้นก็เหมือนจะระวังอะไรมากขึ้น
    • จบจากโรงเรียนเก่าก็น่าจะนับว่าเป็นการ transit จาก comfort zone พอสมควร แต่สุดท้ายทุกคนก็ต้องออกเดินทาง

    ชีวิตกับคอม

    • ได้มีโอกาสจับงานโค้ดจริงๆ จังๆ ก็ไม่รู้ว่าเรียกว่าเป็นภาษาที่ขายได้ไหม แต่ก็พอโอเค
    • อยู่ในช่วงกำลังสับสนว่าเรีนยคอมมาแล้วควรไปสายไหน อยากไปทั้ง sysadmin, web dev และ machine learning
      • มีคนแซวให้ทำ service บนเว็บที่อิงจาก machine learning แล้ว deploy พร้อม maintenance เองอื้ม -__-

    ชีวิตกับภาคคอม

    • มหาลัยคือการเริ่มทุกอย่างใหม่ ทั้งเพื่อน สังคม และการจัดการตัวเอง
    • โชคดีมากที่เพื่อนภาคน่ารักกันมากๆ หลายคนเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นและเข้าใจนิสัยอีเฮด
      • ขอบคุณที่บางครั้งเราแย่ใส่แล้วยังเข้าใจและให้อภัย
    • กลับกลายเป็นว่าหลายๆ อย่างที่เรารู้สึกแย่เราดีขึ้นได้เพราะเพื่อนภาคนี่ละ
      • ถึงบางคนหลายๆ คน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว: กลายเป็น comfort zone ของเราแล้วกรุณาอย่าหนีเรานะ
    • จากที่รู้สึกตัวเล็กอยู่แล้ว กลับรู้สึกจิ๋วไปอีก สังคมและโลกมันกว้างเนอะ
    • อีกครั้งหนึ่ง (ถึงคนที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว) ขอบคุณสำหรับความเข้าใจนี้ และขอบคุณสำหรับพื้นที่หลายๆ อย่าง

    หัวใจ

    • ข้ามไปยาวๆ เป็นปีที่ distract และตามหาคำตอบของอะไรที่เป็นนามธรรมพอสมควร
    • ทุกคนที่ล้อมรอบล้วนบอกว่าคิดเชี่ยอะไรเยอะวะ

    To move forward

    • อยากจับ Machine learning จริงๆ จังๆ สักที คิดว่าจะมีโอกาส
    • เหมือนที่เขียนในบล็อกว่าอยากทำให้โลกนี้ดีขึ้น มีเวลาอีกไม่กี่วันในการคิด
    • เลิกคิดมาก ช่างๆ แม่งไปเถอะ
    • อยากทำอะไรก็ทำไปเลย no excuse please

    Thanks

    สุดท้ายนี้ สำหรับปีนี้ ต้องขอบคุณ

    • มิตรทั้งหลายที่โรงเรียนเก่าที่ยังไม่ลืมกัน
      • หลายคนก็ยังเป็นกัลยาณมิตรที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้เราอย่างเสมอมา ขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับอีเพื่อนประถมหอใน อีนก ประธานฯ ผู้รายล้อมด้วยเมีย อีพี่หมอทไวไลต์ ตล. พี่หมอสแนปถี่ และทุกคนที่ยังพยายาม keep in touch เสมอมา
        • เออ เรียกชื่อแบบนี้แล้วต่างฝ่ายต่างมั่นใจว่าเป็นใครมั่งก็แปลว่าดีเนอะ 🙂
      • ขอบคุณและขอโทษสำหรับคนที่เคยสนิทแต่ไม่ค่อยได้คุยกันแล้วด้วยนะ ยังคิดถึงอยู่หลายคนพอตัว
    • เพื่อนภาคและพี่ภาค
      • แน่นอนว่าหลายคน back up เราไว้ได้พอสมควร ขอบคุณเป็นพิเศษ
      • และขอบคุณ CPE30, It wouldn’t be like this if it’s not all of you!
    • ขอบคุณแฟนเก่าที่ยังมีมิตรจิตอันดีต่อกัน
    • ขอบคุณผองเพื่อนทั้งทางเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ทั้งหลายที่เข้ามาในชีวิตกันและกัน หลายคนที่เราได้คุยด้วย เรายินดีนะครับ :3
    • สุดท้ายกับคนที่ยังสำคัญที่สุด ขอบคุณครอบครัว ทั้งพ่อและแม่ ลุงป้าน้าอา อีน้องชายที่กำลังสอบก็ขอให้อ่านหนังสือให้หนักนะ 555555

    ขอให้ทุกคนมีพลังเดินต่อในปีหน้าที่จะถึง และปีต่อๆ ไปนะครับ

    สุขสันต์ปีใหม่ล่วงหน้าครับ 😀

  • รีวิว Bamboo Fineline 2

    รีวิว Bamboo Fineline 2

    ในบรรดาปากกาสไตลัสต่างๆ นั้น หนึ่งในแบบที่นิยมใช้มากที่สุดคือปากกาซึ่งเชื่อมต่อด้วยบลูทูธได้

    ปากกาซึ่งเชื่อมต่อบลูทูธได้มีจุดโดดเด่นสองจุดเหนือปากกาชนิดอื่นคือ สามารถรองรับแรงกดของปากกา และรองรับการตรวจจับฝ่ามือ (palm detection) บนหน้าจอของไอแพดได้

    ผมมีโอกาสซื้อ Bamboo Fineline 2 จากค่ายผู้ผลิตปากกาชื่อดัง Wacom มาใช้ จึงมาเขียนรีวิวครับ

    ตัวปากกา

    ปากกาของ Wacom นั้นทำจากมั้งอะลูมิเนียมและพลาสติก มาในสีให้เลือกสี่สีคือฟ้า ทอง ดำ และเทา

    ส่วนหัวปากกาเป็นจุดขนาดเล็ก ขนาดต่างจากปากกาหัวยางอย่างเห็นได้ชัด

    IMG_1395

    (ขออภัยที่โฟกัสไม่ไป)

    ก้นปากกามีพอร์ต MicroUSB ไว้สำหรับชาร์จ

    IMG_1396

    ในด้านวัสดุถือว่าทำออกมาได้ “โอเค” ไม่ได้แย่แต่ก็ไม่ได้ดีโดดเด่น โดยส่วนตัวมองว่าตรงปลอกปากกาดู “ถูก” (looks cheap) ไปหน่อย ซึ่งอาจเป็นเพราะผมนำวัสดุและดีไซน์มันไปเทียบกับปากกาที่ส่วนตัวนับว่าเป็นเป็น fine writing instrument อย่างลามี่ (ซึ่งออกแบบที่หนีบได้สวยมาก) ก็เป็นได้ แต่ถึงกระนั้นต้นทุนปากกาและฮาร์ดแวร์ภายในก็ต่างกันมาก การนำมาเทียบแบบนี้ไม่ถูกสักเท่าไหร่

    IMG_1391

    การใช้งาน

    ข้อเสียอย่างหนึ่งของปากกาตระกูลบลูทูธคือ แอปที่รองรับนั้นมีน้อยมาก เพราะต้องใช้ SDK เฉพาะของผู้ผลิตปากกา ซึ่งเมื่อเทียบกับ Apple Pencil ซึ่งรองรับการวางมือมาในระบบปฏิบัติการเลย ทำให้คะแนนด้านแอปที่รองรับห่างกันแบบไม่เห็นฝุ่น (ส่วนข้อดีคือราคา ยิ่งผมซื้อ iPad ลดราคามาด้วยยิ่งถูก ฮา!)

    แต่ด้วยจุดประสงค์ของการจดโน้ต แอปจดโน้ตชื่อดังในตลาดอย่าง GoodNotes และ Notability ต่างก็รองรับการต่อกับบลูทูธ ซึ่งทำให้ไม่มีปัญหาอะไร
    อันที่จริงแล้วจุดประสงค์ที่เลือก iPad แทนที่จะเป็นแท็บเล็ตตระกูลที่มีปากกามาให้ ส่วนหนึ่งเพราะผมหา solution จดโน้ตบน PDF (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสไลด์และหนังสือเรียน) ที่ดีกว่าหรือเทียบเท่า GoodNotes บนแพลทฟอร์มอื่นไม่ได้แล้ว

    ก่อนใช้งานครั้งแรกจำเป็นต้องชาร์จไฟ ในคู่มือระบุเวลาไว้ที่ 45 นาที

    ใน GoodNotes การตั้งค่าปากกานั้นจะอยู่ที่เมนูหลักมุมบนขวา ซึ่งวิธีการ pair ปากกาก็เพียงแค่จิ้มหัวปากกากับปุ่ม ปากกาจะทำการ pair อัตโนมัติ

    ในการใช้ปากกาครั้งต่อๆ ไป เพียงกดปุ่มบนตัวปากกาขณะเปิดแอปที่รองรับ ตัวปากกาจะ pair และเชื่อมต่อให้เอง

    ในแอปสามารถตั้งค่าให้ปุ่มบนปากกาทำหน้าที่เป็น shortcut ได้ ผมตั้งให้เป็นปุ่ม undo

    IMG_0064

    สิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ อันที่จริงแล้ว สำหรับปากกาแบบ active stylus ซึ่งใช้การปล่อยไฟฟ้าจากหัวปากกา หากเอียงเขียนแล้วตัวจุดปล่อยไฟฟ้าจะเกิดการเหลื่อมกับปลายปากกา ดังนั้นในแอปพลิเคชั่นจะมีให้ตั้งค่าการจับปากกา ซึ่งเมื่อตั้งค่าส่วนนี้ โปรแกรมจะทำการ “เลื่อน” จุดที่เขียนให้มาอยู่ที่ปลายปากกาตาที่เล็งไว้ตั้งแต่แรก

    IMG_0068

    การตั้งค่าตรงนี้จะมีผลกับระบบ palm reject ในแอปฯ ส่วนหนึ่งด้วย

    IMG_0066

    สำหรับ GoodNotes นั้นถือว่าทำออกมาได้โอเคมาก เมื่อเขียนโน้ตโดยใช้ช่องซูมขยาย ไม่พบปัญหาหรือข้อรังควานใจมากนัก ยกเว้นบางที่ที่สไตลัสไม่ส่งข้อมูลว่าปากกาถูกจรดบนจอแล้ว ทำให้เส้นขาดหายไปบ้าง (ซึ่งเจอบ่อยๆ ก็หงุดหงิดอยู่)

    ปากการองรับแรงกด แต่ไม่แน่ใจจดโน้ตต้องใช้ด้วยหรือเปล่า (pun not intended)

    IMG_0067

    ทั้งนี้การเขียนตัวอักษรเล็กๆ โดยไม่ซูมนั้น จอจะไม่สามารถตรวจจับเส้นโค้งที่รัศมีสั้นมากๆ ได้ ซึ่งเป็นปกติของสไตลัสประเภทนี้อยู่แล้ว

    GoodNotes บันทึกอักษรทั้งหมดเป็นเวกเตอร์ นั่นหมายถึงขยายไม่แตก ซึ่งผมชอบมาก ทั้งนี้สามารถดูตัวอย่างไฟล์ PDF ที่ export ออกมาได้ที่นี่

    นอกจาก GoodNotes แล้ว Wacom ยังทำแอปชื่อ Bamboo Paper มาด้วย

    Bamboo Paper นั้นจะให้ชนิดสมุดและปากกามาจำกัด เมื่อเชื่อมต่อ Stylus ระบบจะ “แถม” ดินสอ และสมุดสองชนิดในแอปให้

    ทั้งนี้ เหลือเครื่องเขียนอีกสามแบบ (ปากกาหัวหนา สีน้ำ สีเทียน) และสมุดอีกหนึ่งแบบ (สมุดกระดาษวาดเขียน) ซึ่งสามารถซื้อผ่าน In-App Purchase ในราคา 99 บาท หรือปลดล็อกได้โดยซื้อสไตลัสรุ่นแพงกว่านี้

    ความรู้สึกแรกหลังจากทราบว่าได้ปากกาไม่ครบชุดคือ “อ๋อเหรอ ค่าสไตลัสสองพัน ยังจะมาเก็บอีก 99 บาทเหรอ”

    IMG_0069

    การวาดเขียนโดยทั่วไปทำได้ดี ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก

    ตัวอย่างรูปที่วาดคือรูปอธิบายการทำงานของ Active stylus ข้างบน จะเห็นว่าพยายามลงเส้นหนักเบาตรงส่วนแรเงา ซึ่งปากกาทำได้ดี แต่คนวาดมีปัญญาวาดได้แค่นี้ 😀


    สรุป

    ถึงแม้ว่าปากกาจะทำได้ดี แต่การเทียบกับตลาดแท็บเล็ตที่ผู้ผลิตทำปากกาออกมาเฉพาะเลย ก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะเทียบตัวปากกาได้

    ทั้งนี้ หากมองตลาดแอป iOS ที่รองรับปากกานี้ หากต้องการซื้อมาใช้เพื่อจดโน้ต ปากกานี้ก็ทำหน้าที่ของมันได้ดี โดยเฉพาะสำหรับคนที่ใช้ iPad อยู่แล้วครับ