Category: Uncategorized

  • โลกที่บังคับให้คนสำเร็จเร็วขึ้น

    พอถึงวัยอายุ X ปี คนจะเลิกตัดสินเราจากศักยภาพและอนาคต หันมาตัดสินจากประสบการณ์และความสำเร็จที่ผ่านมา”

    วลีข้างต้นเป็นความรู้สึกที่อยู่กับตัวเองมานานแสนนานแล้ว แต่เจอคนที่เขียนวลีประมาณนี้ออกมาเป็นคำเมื่อไม่เกิน 6-7 ปีที่แล้ว (จำไม่ได้ว่าใคร แต่อยากขอบคุณ)

    ส่วนตัวมองว่าค่า X ในวลีดังกล่าว ลดลงขึ้นทุกวัน

    มองตัวเองในวันนี้ วันที่อายุ 26 ปี ก็เริ่มรู้สึกว่าคนไม่ได้มองหาศักยภาพในตัวเราอีกต่อไป แต่ดูว่าเราผ่านความสำเร็จอะไรมาบ้าง

    และสำหรับคนรุ่นหลังจากนี้อีก อาจจะเจอว่าเลขนี้ลดลงมาเหลือ 25-24-23… ไปเรื่อยๆ ซึ่งก็พอเข้าใจได้ในแง่ที่ว่า บนโลกที่เวลาไหลไม่ย้อนกลับ และผู้คนต่างโหยหวนที่จะครอบครองทรัพยากรที่มีจำกัด การเริ่มก่อนก็ได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด

    แต่เราจะอยากอยู่กันแบบนี้จริงๆ หรือเปล่า เพราะส่วนตัวคิดว่านี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดี

    ขออนุญาตแทงไว้ว่า วันใดที่เลขนี้แตะ 22 (เท่ากับอายุของเด็กจบใหม่ป.ตรี ในหลักสูตรสี่ปี) ความระส่ำระส่ายจะเกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา บีบให้สถาบันที่ผลิตเด็กที่ “สำเร็จแล้ว” อยู่รอดต่อไปได้ และสุดท้ายจะกลายเป็นแหล่งผลิต “มนุษย์โรงงาน” สมัยใหม่

    ความระส่ำระส่ายนี้จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างออกไปเรื่อยๆ นักเรียนมัธยมจะแก่งแย่งแข่งขันเข้าไป “ผลิตตัวเองเป็นมนุษย์โรงงาน” ผ่านระบบอุดมศึกษา เฉพาะนักเรียนที่ “สำเร็จที่สุด” ถึงจะได้รับอภิสิทธิ์ดังกล่าว โดมิโน่ล้มต่อไปเรื่อยๆ จนถึงประถม อนุบาล พรีคินเดอร์การ์เตน

    ไม่คิดว่าจะเป็นผลดีกับใครนอกจากระบบอุตสาหกรรม พ่อแม่ที่เชื่อในวิถีมอนเตสซอรี่ได้ อาจจะเหลือเพียงพ่อแม่ที่ไม่ต้องต่อสู้แย่งชิงทรัพยากรของโลกนี้มาแล้ว (และพร้อมจะส่งต่อ wealth ให้รุ่นลูกไป grow ต่อ)

  • Daily Rant: all() and any() on empty iterables

    >>> all([])
    True
    >>> any([])
    False

    This may or may not be counter-intuitive. If it is, here is the simple explanation I like:

    For a non-empty iterable X, you can consider all(X) to be equivalent to X[0] and all(X[1:])

    When you expand everything, you get X[0] and X[1] and ... and all([]), notice how things will collapse if all([]) return False, because if it is the case, all() will never return True.

    In the same way, you can consider any(X) to be equivalent to X[0] or any(X[1:])

    When you expand everything, you get X[0] or X[1] or ... or any([]), notice how things will collapse if any([]) return True, because if it is the case, any() will never return False.

    This is neither a good nor correct explanation, because one can argue that they can define all() and any() operator with a non-empty iterable as the base of its recursive cause. I am not even sure if a set with negative numbers of elements is a thing, which will spark even more debate.

    More about this at Neizod’s blog: ตรรกะและการเขียนโค้ดจากวลี not all ~ neizod’s speculation

  • Daily Rant: Python Comparisons

    เห็นโพสต์นึงในอินเทอร์เน็ตพูดถึงการใช้ตัวดำเนินการ == และ is ในไพทอนแล้วน่าจะมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยถูกนัก

    มิตรสหายเนยสดท่านหนึ่ง ใจดีไปแก้ไขที่ต้นทางให้ (link open in new tab) มองว่าผู้เขียนน่าจะรู้สึกเหมือน is เป็น === ใน JS กล่าวคือเป็น type strict comparison ซึ่งไม่ใช่ในกรณีของไพทอนอย่างแน่นอน เพราะตัวภาษาเองเป็น strict typed อยู่แล้ว

    เลยแวบมาเขียนอะไรขำๆ สักเล็กน้อย เกี่ยวกับการใช้ == และ is สักหน่อยแล้วกัน

    Prerequisites

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า == มีไว้เช็กความค่าเท่ากัน และ is มีไว้เช็กว่า object สองตัวเป็น instance เดียวกันไหม

    >>> a = []
    >>> b = []
    >>> a == b
    True
    >>> a is b
    False

    is None

    คำถามที่อาจจะน่าสนใจ คือทำไมเวลาเราเช็กว่าวัตถุใดๆ ในไพทอนเป็น None หรือไม่ เราเลือกที่จะใช้ is None แทน == None?

    แน่นอนว่าพอเขียนเป็นโค้ดแล้ว ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเขียนภาษาธรรมชาติมาก แต่การเลือกใช้ is None เป็นเพียง syntactic sugar หรือเปล่า?, คำตอบคือไม่ใช่

    เหตุที่เราเลือกใช้ is None นั่นก็เพราะ None ในไพทอนเป็น singleton object กล่าวคือจะมีได้เพียง instance เดียว ทำให้การเช็กว่า object ใดๆ เป็น None หรือไม่ ทำได้ด้วยการเช็กว่าเป็น instance เดียวกันไหมนั่นเอง!

    True, and False

    กรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจคือ True และ False ในไพทอน ซึ่งเป็น object ของ bool

    True และ False คล้ายกับ None ในแง่ที่ว่าในโปรแกรมไพทอนหนึ่ง จะมี instance ของ True เพียง instance เดียว และ instance ของ False เพียง instance เดียว

    ถ้าแบบนั้น แปลว่า True และ False ต่างเป็น singleton หรือเปล่า? คำตอบคือไม่ใช่ เพราะทั้งสองเป็น instance ของ boolean เหมือนกัน (ซึ่งแปลว่าไม่ได้มี boolean instance เพียง instance เดียวในโปรแกรมไพทอนหนึ่งโปรแกรม) ในทางเทคนิกเราเรียก design pattern ในลักษณะนี้ว่า Flyweight pattern

    อย่างไรก็ดี เราก็พอรู้แล้วว่าในทางทฤษฎี เราสามารถใช้ is ในการเช็กว่า boolean ค่าใดค่าหนึ่งเป็น True หรือ False หรือไม่

    >>> a = (0 == 1)
    >>> id(a)
    139976720486240
    >>> id(False)
    139976720486240

    หรือง่ายกว่านั้น

    >>> 0 == 1 is False
    <stdin>:1: SyntaxWarning: "is" with a literal. Did you mean "=="?
    False

    อ้าว… โกหกกันนี่หว่า…

    ไม่ใช่! pitfall หนึ่งของไพทอน คือ orders of operation ที่ทำ is ก่อนทำ comparison ซึ่งบางครั้งการลืม orders of operations ก็อาจจะทำให้เราเห็นอะไรแปลกๆ แบบนี้

    >>> True == not False
      File "<stdin>", line 1
        True == not False
                ^^^
    SyntaxError: invalid syntax

    มาลองกันใหม่ แบบใส่วงเล็บ

    >>> (0 == 1) is False
    True

    ผลลัพธ์เป็นไปตามคาด

    แต่แน่นอน อย่าหาทำในชีวิตจริง

    Glitch in the Matrix?!?!

    >>> a = 256
    >>> b = 256
    >>> a is b
    True
    >>> a = 257
    >>> b = 257
    >>> a is b
    False

    ?!?!?!

    คำตอบอยู่ใน C API implementation ของ Python (ซึ่งเกร็ดความรู้คือ treat int กับ long ด้วย PyLong object เหมือนกัน)

    Integer Objects — Python 3.12.1 documentation กล่าวไว้ว่า

    The current implementation keeps an array of integer objects for all integers between -5 and 256. When you create an int in that range you actually just get back a reference to the existing object.

    Mimicing NULLs

    ใน SQL ค่าของ NULLs ไม่เท่ากับค่าของ NULLs อื่นๆ

    เพื่อเป็นการสาธิตความแตกต่างของ == และ is อย่างชัดเจนถึงแก่น เราสามารถสร้างคลาส NullType ที่สร้าง singleton object ของ NULL ได้ แต่เมื่อเอา instance ของ NullType “สองตัว” (เดียวกัน) มาเทียบกัน จะได้ผลลัพธ์เป็น False

    การสร้าง singleton ในไพทอนทำได้ง่าย ด้วยการ override magic method __new__

    หมายเหตุ: class_ ด้านล่าง เกิดจากการเติม underscore ข้างท้ายชื่อ argument ไม่ให้ชนกับคำว่า class ที่เป็น “คำสงวน”, ในบางตัวอย่าง เช่นในอ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม อาจจะเลือกใช้ cls ก็ได้

    # null.py
    class NullType:
        _instance = None
    
        def __new__(class_):
            if class_._instance is None:
                class_._instance = super().new__(class_)
            return class_._instance

    แปลว่าตอนนี้ เราสามารถสร้าง null object ให้มีเพียง instance เดียวได้แล้ว

    $ python3 -i null.py
    >>> null_1 = NullType()
    >>> null_2 = NullType()
    >>> null_1 is null_2
    True

    ถ้าไม่ต้องการให้ null object ของเราเท่ากับอะไรเลย ก็แค่ override __eq__ method ที่จะถูกเรียกเวลาทำ comparison

    # null.py
    class NullType:
        _instance = None
    
        def __new__(class_):
            if class_._instance is None:
                class_._instance = super().__new__(class_)
            return class_._instance
    
        def __eq__(self, other):
            return False

    และลองรันใหม่

    $ python3 -i null.py
    >>> null_1 = NullType()
    >>> null_2 = NullType()
    >>> null_1 == null_2
    False
    >>> null_1 is null_2
    True

    ก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

    อ้างอิง และอ่านเพิ่มเติม

  • How not to create an alumni association

    These are how one should* not create an alumni association:

    • Create a chat group.
    • Establish themselves as “seniors”.
    • Mandate, Suggest that the calls emphasising seniority be used, therefore creating an environment that does not reflect the dynamics and the relationships between alumnus in an inclusive and up-to-date manner.
    • Make the aforementioned chat group becomes forward from grandmas group.

    * Despite the fact that ones should not, ones might actually do them.

  • 2020: Year in Review

    2020 เป็นปีที่ยากลำบากและเหนื่อยในบางแง่มุม เป็นความโชคดีที่ในปีนี้น่าจะได้ประสบพบพานกับความรู้สึกดีหลายอย่าง ทั้งที่คาดหวังและไม่คาดหวังให้เข้ามา

    เทียบกับปี 2019 แล้ว ดูปีนี้ช่างเขียนง่ายกว่ามาก ชีวิตที่ดีอาจจะเป็นชีวิตที่สามารถหยิบมาเล่าได้ไม่ยาก และเมื่อต้องหยิบมาเล่าก็ไม่ได้มีน้ำตาให้นึกถึงเท่าไหร่

    (more…)
  • การเรียงพิมพ์ในภาษาไทยด้วย XeLaTeX

    การเรียงพิมพ์ในภาษาไทยด้วย XeLaTeX

    สามารถดูบทความนี้ในฉบับที่เรียงพิมพ์ด้วย XeLaTeX ซึ่งมีตัวอย่างฟอนต์ภาษาไทยแบบสมบูรณ์ได้ที่นี่

    สรุป: การเรียงพิมพ์เอกสารภาษาไทยสามารถทำได้ด้วยการใช้ XeLaTeX ร่วมกับแพคเกจภาษา polyglossia ด้วยฟอนต์ภาษาไทยจากโครงการ TLWG เพื่อให้ได้เอกสารรูปแบบที่สวยงาม และมีมาตรฐานเช่นเดียวกับเอกสารที่เรียงพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษด้วย LaTeX

    (more…)
  • My last thoughts on contact tracing

    My last thoughts on contact tracing

    ขอเขียนถึงเรื่อง contact tracing ครั้งสุดท้าย ก่อนประสาทจะรับประทานไปมากกว่านี้

    ว่าด้วยมุมมองของคนสายไอที

    • เวลาตัวเองมีค้อนในมือ เราก็คิดว่าเราจะเอาค้อนไปแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่โลกไม่ได้มีแต่ปัญหาที่เกิดจากตะปู โลกมีปัญหาที่เกิดจากรูสว่าน เดือยไม้ และอีกสารพัด
    • คนทำงานสาย tech อาจจะพยายามเข็น tech solutions ออกมาเพื่อแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง–ขอบคุณในความปรารถนาดี แต่ปัญหาบางอย่างไม่ใช่ “ตะปู” ที่ต้องเอา “ค้อน” ไปตอก

    ว่าด้วยความจำเป็นของการทำ contact tracing

    • contact tracing ไม่ใช่พ่อ ถ้าเรา trace contact ได้แต่เราไม่สามารถตอบได้ว่า contact กลุ่มไหนบ้างที่ต้องเอาตัวมาตรวจ ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น contact tracing เป็นแค่เฟืองตัวเล็กๆ ที่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น
    • contact tracing มีประโยชน์กับ authority ในแง่ของการตามตัวคนมาตรวจ และ contact tracing มีประโยชน์กับคนในการทำให้ตัวเองรู้ความเสี่ยง
    • ในเมื่อสถานการณ์มัน win-win แบบนี้ authority ไม่มีความจำเป็นต้อง “บังคับ” คนลงแอป contact tracing เลยแม้แต่น้อย แค่ (1) บอกคนว่าคุณจะรู้ตัวได้แม่นขึ้นเมื่อคุณ expose ความเสี่ยง และ (2) บอกว่าไม่ต้องกลัวเรา เพราะเราเคารพคุณและข้อมูลของคุณ

    ว่าด้วยความเป็นส่วนตัว

    • contact tracing ถือครองข้อมูลที่มีความอ่อนไหวได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นคำถามว่าอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร
    • ความเป็นส่วนตัวเกิดขึ้นได้จากความเชื่อใจแบบมีเงื่อนไข ถ้าเรามีหลักฐานหรือความเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัวที่เก็บไปจะไม่ถูกเอาไปใช้อะไรนอกเหนือจากที่เรายินยอม ก็โอเคระดับหนึ่ง
    • แต่ความเชื่อใจระดับนี้ไม่ได้เกิดกันง่าย และจะบอกให้ทุกคน “เชื่อใจ” ก็คงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือกระบวนการรับประกันว่าข้อมูลที่ได้จะ “เอาไปใช้อย่างอื่นไม่ได้” นอกจากการตามคนมาตรวจ
    • การเอาปืนมาจี้ หรือการออกเงื่อนไขเพื่อทำให้คนลงแอป contact tracing ไม่ใช่ความเชื่อใจ
    • ความเป็นส่วนตัวไม่ได้เกิดได้จากการปะผุ ไม่สามารถสร้างแอปที่ไร้ความเป็นส่วนตัวมา แล้วใส่โค้ดมหัศจรรย์ พลันเกิดความเป็นส่วนตัวได้
    • ความเป็นส่วนตัวเกิดจากการออกแบบทุกอย่างให้มีความเป็นส่วนตัวแต่ตั้งต้น ใส่ใจความเป็นส่วนตัวมากกว่าอรรถประโยชน์
    • ข้อมูลจากแอป contact tracing ต้องใช้เพื่อ contact tracing เท่านั้น

    ว่าด้วยการบังคับ

    • การบังคับทำ contact tracing เป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
    • การสร้างมาตรการเชิงบังคับ เช่นการกีดกันบริการ (ไม่ว่าจะเป็นบริการสาธารณสุข หรือแม้แต่ร้านข้าว) หากไม่ยอมติดตั้งระบบ contact tracing เป็นเรื่องเลวร้ายไม่แพ้กัน
    • การแบ่งแยกจากการทำหรือไม่ทำ contact tracing จะไม่ช่วยให้คนทำ contact tracing อย่างดีมากขึ้น มิหนำซ้ำจะเพิ่มข้อมูลผิดๆ ในระบบ หากตัวบุคคลต้องการเข้าถึงบริการแต่ไม่ยอมโดนละเมิดความเป็นส่วนตัว
    • การบังคับทำ contact tracing ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจะเอื้อให้เกิดการแบ่งแยกคนจากทรัพยากรในการเข้าถึง contact tracing เสียเอง
    • contact tracing ต้องอยู่บนความเต็มใจ ผู้ใช้ยอมติดตามแลกกับการลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบบไม่ระบุไม่ได้
    • อย่าอ้างว่ามาตรการ de facto ไม่ใช่มาตรการเพียงเพราะไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

    new normal

    • อย่าอ้างว่าความเป็นส่วนตัวที่หายไปคือ new normal เราสามารถ mitigate ความเสี่ยงบน normal เดิมของความเป็นส่วนตัวได้อยู่

    จบแค่นี้ละ

  • ผู้ชายที่ร้องไห้ระหว่างมีเซ็กส์

    ผู้ชายที่ร้องไห้ระหว่างมีเซ็กส์

    เธอไม่ชอบผู้ชายที่ร้องไห้ระหว่างมีเซ็กส์เหรอ

    เวลาที่ฉันร้องไห้ระหว่างมีเซ็กส์ ฉันดูดดื่มกับความรู้สึกที่ชวนให้เป็นบ้าตรงหน้า กลับกันฉันกลัวว่าจะมีบางสิ่งพรากมันไปจากฉัน–พรากเธอไป ไม่พรุ่งนี้ก็มะรืน สัปดาห์หน้า เดือนหน้า ปีหน้า จะตอนไหนก็ไม่ต่างกันหากฉันพรากจากเธอ

    เป็นเวลาที่ความกลัวและความสุขมาปะทะกัน เธอสัมผัสมันได้ใช่ไหม ไม่ว่าจะเสียงครางที่เจือเสียงสะอื้น หรือน้ำตาที่ไหลรวมกับเหงื่อ มันแปลว่าเธอคือความสุข ความกลัว คือคนที่เขาอยากเอ่ยนามด้วยเสียงคราง คือทุกห้วงอารมณ์ของเขา คือคนที่เขายอมศิโรราบตรงหน้า คือคนที่เขาอยากฝากทุกอย่างไว้

    ได้ยินแบบนี้ เธอจะชอบผู้ชายที่ร้องไห้ระหว่างมีเซ็กส์มากขึ้นไหม


    วลี “ผู้ชายที่ร้องไห้ระหว่างมีเซ็กส์” มาจาก “วันหนึ่งความทรงจำจะทำให้คุณแตกสลาย” โดยจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท

  • AI ที่อธิบายได้: หลักการ เหตุผล และความจำเป็น

    รวมบทความในชุดดังกล่าวที่เผยแพร่ครั้งแรกบนเฟซบุ๊กของศิระกร ลำใย, บทความขณะนี้ยังเขียนไม่ครบทุกตอน

    (more…)
  • Attitude Q&A 2

    Image

    ตลาดล่าง

    ตอบแบบไม่กวนเหมือนรอบที่แล้วละ

    ส่วนหนึ่งมองว่าหากอยากจะเข้าใจตลาดล่าง ต้องเริ่มจากการพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมและขั้นตอนวิธีในการ “เหยียด” ของ elite หรือ upper-middle class ที่มองลงมายัง middle class ทั่วไปก่อน

    ถ้า middle class ไม่ได้ naive ขนาดนั้นสักเท่าไหร่ก็คงพอรู้ว่าการเหยียดแบบนี้มีจริง และเราคิดว่า middle class บางกลุ่มแสดงออกผ่านการรีเฟลกซ์กลับไปที่ชนชั้นที่ต่ำกว่าตามลำดับ

    ยกตัวอย่างเคสนึงที่น่าจะเห็นได้ชัดคือจัดฟันเถื่อน–กรณีนี้น่าสนใจ บริบทของการรักษาสุขภาพช่องปากที่ผิดปกติกลับไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมเทียบกับการแพทย์ชนิดอื่นๆ ทำให้เส้นแบ่งของคนที่จัดฟัน–ในฐานะคนที่จ่ายไหว และคนที่จ่ายไม่ไหวนั้นชัดเจนมาก

    ชนชั้นกลางกระเสือกกระสนถีบตัวเองผ่านการศึกษา ของแบรนด์เนม การช็อปปิ้ง (ซึ่งนี่ก็คือ norm ที่ชนชั้นกลางสร้างจากภาพมองของชนชั้นสูงที่ตัวเองจะตะกายไปถึง) เช่นไร ชนชั้นล่างก็กระเสือกกระสนกับการถีบตัวเองแบบนี้เหมือนกัน (ผ่าน norm ที่ชนชั้นล่างสร้างจากภาพของชนชั้นกลาง)

    ลองวันนึงคุณไปทำอะไรที่กระทบกับโรงพยาบาลเอกชน คลับกีฬา หรืออะไรสักอย่างที่เป็นพูลของชนชั้นสูง วันนึงคุณก็โดนเหยียดเหมือนกับที่คุณเหยียดเด็กแว๊นที่รบกวนระบบเดินทางของคุณ จัดฟันเถื่อนที่รบกวนระบบประกันสุขภาพของคุณ หรืออะไรทำนองนั้นแหละ (แต่ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ทำอยู่มันถูกนะ)

    Toxic femininity

    เป็นเรื่องที่สนใจแต่ไม่ถนัดที่สุด

    ไม่มีความเห็นแล้วกัน แต่ทิ้งคำถามไว้ให้คิด–ถ้าผู้หญิงหันมาเบลมกันเองว่าเธออ้วนแล้วนะ ใครเป็นฝ่าย toxic? ถ้ามองว่าผู้หญิง แล้วปฏิเสธได้ไหมว่าการที่ผู้ชาย stereotype ผู้หญิงว่าต้องสวยและหุ่นบางทำให้เกิดความ toxic แบบนั้น? แล้วถ้ามันเป็น norms ที่เกิดจากการที่ผู้หญิงมองว่าผู้ชายมองว่าผู้หญิงต้องเป็นแบบนี้ ความ toxic นั้นก็เกิดจากผู้หญิงเองใช่หรือไม่?

    ผีน้อย

    ขอไม่เรียกว่าผีน้อย ขอเรียกว่าแรงงานผิดกฎหมายในต่างประเทศ

    แรงงานผิดกฎหมายในต่างประเทศคือคนที่ไม่เล่นตามกติกา–การโกงเกมของเขาทำให้เกิดผลกระทบกับคนที่เล่นตามกติกา ทั้งไกด์ทัวร์ นักท่องเที่ยว แรงงานถูกกฎหมายคนอื่น

    แต่ต้องไม่ลืมมองความจริงว่าครั้งหนึ่งเขาคงเคยพยายามเล่นตามกติกาแล้วเหมือนกัน–น่าสนใจว่าเพราะเหตุใดการเล่นตามกติกาของเขาถึงไม่เวิร์ก มันอาจจะเป็นความโลภหรือปากท้องของครอบครัวที่ไม่มีข้าวตกถึงกระเพาะก็ได้ ไม่มีใครรู้นอกจากพวกเขา

    ในการบ่นว่า (condemn) พวกเขา เราใส่ความเห็นใจ (empathy) เข้าไปได้

    โทษประหาร

    ไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะไม่มีความรู้มากพอให้มีความเห็น

    สาววาย

    สเปกตรัมสาววายกว้างมากตั้งแต่ LGBTQI+ supporter จนถึงระรานให้คนสองคนที่มีชีวิตจริงได้กันจริงๆ สักที

    เส้นแบ่งที่โอเคจากมุมมองของตัวเอง คือเคารพและไม่ก้าวก่ายบุคคลที่มีตัวตนจริง อย่างไรก็ตามคำว่าก้าวก่ายนี่ก็พูดยาก คือการพูดชื่อลอยๆ สองชื่อแล้วอ้างว่าเป็นชื่อทั่วไปที่เพียงไปบังเอิญซ้ำก็ย่อมทำได้

    แต่เอาเป็นว่าหลักการเบื้องต้นคือการ “จิ้น” กันของสาววายไม่ควรไป offend คนโดนจิ้น

    วัฒนธรรมติ่งเกาหลี

    เปลี่ยนคำว่าติ่งเกาหลีเป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลี แล้วลองเปลี่ยนชื่อประเทศดูเรื่อยๆ ถ้าความเห็นมันเปลี่ยนก็แปลว่ามี negative attitude ต่อกลุ่มนึงแค่นั้นละ

    ราคาผ้าอนามัย

    ควรถูก subsidise อย่างหนักโดยรัฐ หรือแจกฟรี (รวมถึงผ้าอนามัยแบบอื่น เช่นแบบสอด หรือถ้วย)

    Gay marriage

    มันน่าตลกที่ถ้า non-straight จะแต่งงานกันแล้วต้องมาขอ straight ให้ผ่านกฎหมายก่อน

    โอตะ

    เปลี่ยนคำว่าโอตะเป็นแฟนคลับศิลปินญี่ปุ่น แล้วลองเปลี่ยนชื่อประเทศดูเรื่อยๆ ถ้าความเห็นมันเปลี่ยนก็แปลว่ามี negative attitude ต่อกลุ่มนึงแค่นั้นละ

    ไม่ใช่หรอก–คือเวลา condemn ติ่งเกาหลีมันดูไม่มีอะไร กลวงๆ แต่พอมา condemn โอตะแล้วมันมีประเด็นพวกความเป็นไอดอลด้วย

    ส่วนตัวรู้สึกว่าไอดอลแบบญี่ปุ่นนี่ dehumanise ตัวไอดอลเองเยอะมากๆ ก็ต้องดูด้วยแหละว่าตัวโอตะมีทัศนะคติยังไงต่อระบบแบบนี้ คำตอบของเราคือเลิกตาม BNK48 แบบเสียเงินไปนานแล้ว

    อยู่ก่อนแต่ง

    เราอยู่ก่อนแต่งแน่นอน คือมันมีรายละเอียดชีวิตเล็กๆ น้อยๆ (ตื่นมาพับผ้าไหม เก็บของเป็นไง) ที่อยากดูด้วยกันก่อนอยู่กันจริงๆ

    จริงๆ มันไม่ควรเป็นปัญหานะ เซ็กส์ที่ทุกฝ่ายสมยอม (รวมถึงคนที่ผูกพันในสถานะที่ commit ให้เซ็กส์ถูกผูกขาดโดยฝ่ายถือความสัมพันธ์คนเดียว) คือเซ็กส์ที่โอเค

    การรับราชการ

    เหมือนการทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ที่เทอะทะและไม่มีความท้าทาย

    รักไม่มีเพศ

    เสียงที่กระซิบใกล้หูในวันนั้นเคยบอกว่าไม่เชื่อในการแปะป้ายคนทั้งโลกเป็น 16 แบบ–เธอกำลังหมายถึง MBTI

    เราก็ไม่เชื่อในการแปะป้ายคนว่าเป็นชาย หญิง เกย์ เลสเบี้ยน หรืออะไรประมาณนี้เหมือนกัน

    เราเป็นเพศศิระกร

    รัฐสวัสดิการ

    รัฐที่อยากเห็นคนทำอะไรก็ควรจะมีตาข่ายมารับเวลาใครสักคนล้ม มีข้าวให้กิน มีที่ให้ซุกหัวนอน เพื่อจะได้เก็บออมพลังไว้เติมตัวเองและทำอะไรต่อไปแบบที่รัฐอยากเห็นคนทำอะแหละ

    แอคเห็บ

    ไม่มีความคิดเห็น ไม่เคยเจอ

    นักฉอด

    ถ้าฉอดด้วยเหตุผล หลักฐาน และตรรกะ เราแฮปปี้และอยากเจอนะ

    Toxic Masculinity

    Toxic masculinity นี่พูดง่ายกว่า femininity นะ

    เราไม่ชอบคำว่าเป็นลูกผู้ชายไม่ร้องเลย เรามีโครโมโซม XY แล้วเราร้องไห้ไม่ได้เหรอ

    คบคนที่หน้าตา

    มันก็คือนิยามของคำว่าสวยอะ และแน่นอนว่า beauty is in the eye of the holder

    นี่เลือกคบคนจากชั้นหนังสือ คนที่เคยคุยด้วยแล้วชอบแบบจริงจังนี่คือเห็นชั้นหนังสือก่อนเห็นหน้า–แค่คุณก็จะรู้สึกว่ามันรับได้กว่าไง เพราะมันดูเหมือนไม่ฉาบฉวย แต่จริงๆ ใครก็สามารถสร้างชั้นหนังสือที่ตัวเองไม่สนใจจะอ่านได้

    สิ่งที่ตัวเองทำตอนนี้นี่ฉาบฉวยกว่าคบคนที่หน้าตาอีก

    ละครและนิยายตบจูบ

    เราไม่ควรต้องมานั่งคุยเรื่องพวกนี้ในปี 2020 นะ

    ละครสะท้อนสังคม สังคมสะท้อนละคร แล้วก็เป็นการอ้างเหตุผลไปมากันเรื่อยๆ คือต้องมีคน break ลูปนี้แหละ

    ทุนนิยม

    เวลาเดินไปตลาดแล้วเจอแผงขายผักสามสี่แผงแล้วก็จะขอบคุณตัวเองที่มีทางเลือก ทุนนิยมในแง่ของการแข่งขันที่ไม่ผูกขาดกับตลาดนี่จริงๆ สำคัญไม่ใช่น้อย

    เราเป็น economically left เราเชื่อใน free trade ระดับนึง (ก็จนถึงจุดที่เชื่อว่าทุนนิยมที่ดีต้องมีกลไกข้างหลัง ทั้ง anti-trust, การแข่งขันที่เป็นธรรม, safety net ให้คนล้มเหลวจากระบบ) และเชื่อในมันมากกว่าแนวคิดทาง communism นะ

    คู่จิ้น

    จิ้นใครจิ้นไป อย่าไปทำให้เขาไม่สบายใจหรือเดือดร้อนก็พอ

    นิยายวาย

    เขียนอยู่ จริงๆ คือตั้งใจเขียนให้เป็นนิยายที่ไม่ได้มีแต่ straight ด้วยเหตุผลที่อยากเห็นวัฒนธรรม non-straight กลุ่มอื่นดังขึ้นมาบ้าง

    แฟนมาก่อนเพื่อน

    ไม่มีปัญหา ที่จริงก็คือความสามารถการแบ่งบริบทและเวลา รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญ แต่ถ้าผิดมารยาท (เบี้ยวนัด ไม่ตรงเวลา กระทบการงาน ฯลฯ) อันนี้เชิญพิจารณาตัวเอง

    ของแบรนด์เนม

    ใช้แล้วมีความสุขกับไม่เดือดร้อนเรื่องเงินก็ใช้ไปเถอะ *ทำหน้าคนไม่เคยซื้อแบรนด์เนมราคาเต็ม*

    หัวหน้าครอบครัว

    ไม่เชื่อในความจำเป็น อยากเลี้ยงลูกแบบพ่อไม่ใช่หัวหน้าครอบครัว แม่ไม่ใช่หัวหน้าครอบครัว เราคือสมาชิกและเราทุกคนได้รับการทรีตเท่ากัน

    เสื้อซับในของนักเรียนหญิง

    เราเป็นผู้ชายที่เคยใส่เสื้อกล้ามตลอดเพราะไม่อยากให้ใครเห็นในเสื้อขาว

    ความตั้งใจในการใส่มาจากความรู้สึกของเราเองที่ไม่ได้ถูกกดดันจากสังคมข้างนอก และการไม่อยากให้ใครเห็นข้างในของเราก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรอบสังคมว่าแบบนี้มันโป๊นะหรืออะไรแบบนั้น

    การใส่เสื้อของผู้หญิงก็ควรเป็นแบบนี้–ไม่มีคนกดดัน ไม่เป็นไปตามกรอบสังคม

    สังคมเฟซบุ๊ก

    เฟซบุ๊กกลายเป็นที่ตามข่าวกับเขียนอะไรมีสาระไปแล้ว ไม่ได้ปฏิสัมพันธ์อะไรกับใครเป็นพิเศษ จะเรียกว่ามีสังคมในนั้นก็คงเรียกได้ไม่เต็มปาก

    มหาวิทยาลัยเอกชนและรัฐบาล

    สมัยปัดทินเดอร์เราปัดเฉพาะคนที่เรียนมหาวิทยาลัยรัฐบาล

    เหตุผลไม่ใช่เรื่องคุณภาพการศึกษา แต่เหตุผลคือภาพจำ (perception) ของเราก็ยังคงมองว่ามหาวิทยาลัยเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าในการเข้าเรียน และเราไม่อยากเป็นฝ่ายที่ socio-economics status ต่ำกว่ามากในเรื่องความสัมพันธ์

    เรื่องการศึกษาแน่นอนว่าไม่มีความคิดเห็น ไปดูอันดับมหาวิทยาลัยโลกว่าบ้านเราที่อันดับต้นๆ อยู่ที่เท่าไหร่ของโลก แล้วจะเข้าใจเอง

    การทำแท้ง

    ควรเสรีทุกกรณี–ทำแท้งนะไม่ใช่กินขนม มันไม่มีใครอยากเจ็บตัวหรอก

    ล้อสำเนียง

    ไม่มีความคิดเห็น

    สลิ่ม

    ไม่รู้จะอธิบายความคิดเห็นยังไง–อาจจะปลงไปแล้ว ซึ่งจริงๆ ไม่ควร

    แต่เราเชื่อใน intention ที่ดีของทุกคน คนที่เป็นสลิ่ม (ซึ่งตามนิยามของเราคือเป็น ignorant) อาจจะแค่ยังไม่เห็นอะไรบางอย่าง ก็ค่อยๆ ชี้กันไป