My last thoughts on contact tracing

ขอเขียนถึงเรื่อง contact tracing ครั้งสุดท้าย ก่อนประสาทจะรับประทานไปมากกว่านี้

ว่าด้วยมุมมองของคนสายไอที

  • เวลาตัวเองมีค้อนในมือ เราก็คิดว่าเราจะเอาค้อนไปแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่โลกไม่ได้มีแต่ปัญหาที่เกิดจากตะปู โลกมีปัญหาที่เกิดจากรูสว่าน เดือยไม้ และอีกสารพัด
  • คนทำงานสาย tech อาจจะพยายามเข็น tech solutions ออกมาเพื่อแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง–ขอบคุณในความปรารถนาดี แต่ปัญหาบางอย่างไม่ใช่ “ตะปู” ที่ต้องเอา “ค้อน” ไปตอก

ว่าด้วยความจำเป็นของการทำ contact tracing

  • contact tracing ไม่ใช่พ่อ ถ้าเรา trace contact ได้แต่เราไม่สามารถตอบได้ว่า contact กลุ่มไหนบ้างที่ต้องเอาตัวมาตรวจ ก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น contact tracing เป็นแค่เฟืองตัวเล็กๆ ที่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น
  • contact tracing มีประโยชน์กับ authority ในแง่ของการตามตัวคนมาตรวจ และ contact tracing มีประโยชน์กับคนในการทำให้ตัวเองรู้ความเสี่ยง
  • ในเมื่อสถานการณ์มัน win-win แบบนี้ authority ไม่มีความจำเป็นต้อง “บังคับ” คนลงแอป contact tracing เลยแม้แต่น้อย แค่ (1) บอกคนว่าคุณจะรู้ตัวได้แม่นขึ้นเมื่อคุณ expose ความเสี่ยง และ (2) บอกว่าไม่ต้องกลัวเรา เพราะเราเคารพคุณและข้อมูลของคุณ

ว่าด้วยความเป็นส่วนตัว

  • contact tracing ถือครองข้อมูลที่มีความอ่อนไหวได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นคำถามว่าอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร
  • ความเป็นส่วนตัวเกิดขึ้นได้จากความเชื่อใจแบบมีเงื่อนไข ถ้าเรามีหลักฐานหรือความเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัวที่เก็บไปจะไม่ถูกเอาไปใช้อะไรนอกเหนือจากที่เรายินยอม ก็โอเคระดับหนึ่ง
  • แต่ความเชื่อใจระดับนี้ไม่ได้เกิดกันง่าย และจะบอกให้ทุกคน “เชื่อใจ” ก็คงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือกระบวนการรับประกันว่าข้อมูลที่ได้จะ “เอาไปใช้อย่างอื่นไม่ได้” นอกจากการตามคนมาตรวจ
  • การเอาปืนมาจี้ หรือการออกเงื่อนไขเพื่อทำให้คนลงแอป contact tracing ไม่ใช่ความเชื่อใจ
  • ความเป็นส่วนตัวไม่ได้เกิดได้จากการปะผุ ไม่สามารถสร้างแอปที่ไร้ความเป็นส่วนตัวมา แล้วใส่โค้ดมหัศจรรย์ พลันเกิดความเป็นส่วนตัวได้
  • ความเป็นส่วนตัวเกิดจากการออกแบบทุกอย่างให้มีความเป็นส่วนตัวแต่ตั้งต้น ใส่ใจความเป็นส่วนตัวมากกว่าอรรถประโยชน์
  • ข้อมูลจากแอป contact tracing ต้องใช้เพื่อ contact tracing เท่านั้น

ว่าด้วยการบังคับ

  • การบังคับทำ contact tracing เป็นเรื่องเลวร้ายที่สุด
  • การสร้างมาตรการเชิงบังคับ เช่นการกีดกันบริการ (ไม่ว่าจะเป็นบริการสาธารณสุข หรือแม้แต่ร้านข้าว) หากไม่ยอมติดตั้งระบบ contact tracing เป็นเรื่องเลวร้ายไม่แพ้กัน
  • การแบ่งแยกจากการทำหรือไม่ทำ contact tracing จะไม่ช่วยให้คนทำ contact tracing อย่างดีมากขึ้น มิหนำซ้ำจะเพิ่มข้อมูลผิดๆ ในระบบ หากตัวบุคคลต้องการเข้าถึงบริการแต่ไม่ยอมโดนละเมิดความเป็นส่วนตัว
  • การบังคับทำ contact tracing ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจะเอื้อให้เกิดการแบ่งแยกคนจากทรัพยากรในการเข้าถึง contact tracing เสียเอง
  • contact tracing ต้องอยู่บนความเต็มใจ ผู้ใช้ยอมติดตามแลกกับการลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อแบบไม่ระบุไม่ได้
  • อย่าอ้างว่ามาตรการ de facto ไม่ใช่มาตรการเพียงเพราะไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

new normal

  • อย่าอ้างว่าความเป็นส่วนตัวที่หายไปคือ new normal เราสามารถ mitigate ความเสี่ยงบน normal เดิมของความเป็นส่วนตัวได้อยู่

จบแค่นี้ละ

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *