Tag: Admission

  • ทัศนะของข้าพเจ้าต่อวิธีแก้ปัญหาการรับเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทย

    เห็นอาจารย์อุ๊เขียนเรื่องระบบการรับเข้าศึกษาต่อในระดับสถาบันอุดมศึกษาไว้

    เพื่อเด็กๆทุกคน Posted by Uraiwan Sivakul on Tuesday, February 16, 2016
    ก็เหมือนเดิม มาตรฐานในการรับเด็กเข้าศึกษาต่อมันแย่ในสายตาเรามานานแล้ว เลยคิดว่าถ้าเป็นเราเราจะทำยังไง

    การรับนักเรียน

    เราชอบระบบตอนนี้ที่เป็นรับสองรอบ คือรอบรับตรง และรอบรับผ่านแอดกลาง ขอให้คงไว้ซึ่งระบบ Clearing house (เราว่ามันดีมาก) เพื่อโอกาสในการรับเด็กรอบหลังจากที่เหลือ วิธีนี้เราจะมั่นใจได้ว่าไม่มีการกั๊กที่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ และไม่มีการสอบแย่งกันจริงๆ (เพราะโดนตัด Clearing house ตัดแอดไปแล้ว)

    ข้อสอบ

    ปัญหาหลักมันคือข้อสอบ แก้อย่างไรก็ไม่เคยหมดปัญหา เป็นเราจะแก้ตามนี้

    ซอยวิชา

    เรามองว่าข้อสอบควรซอยวิชาออกมาให้เยอะที่สุด ตัวอย่างคือ เลข ให้ซอยเป็นสามระดับ
    • Math-A แบบง่าย
    • Math-B แบบปานกลาง
    • Calculus บทมันใหญ่ ถ้าเยอะจริงๆ ก็แยกออกมาเลย
    (Calculus นี่มาคิดทีหลังตามพี่ต้นกล้าบอก เอาเข้าจริงก็ไม่จำเป็นขนาดนั้น ใส่ Math-B เถอะ) วิทย์ ก็ซอยเป็น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ข้อสำคัญคือต้องไม่มีเวลาสอบตัวไหนซ้อนกัน วิชาสามัญปี 2559 เป็นปีแรกที่เพิ่มเลขง่าย วิทย์ง่าย แต่เอาเวลาไปซ้อนกับเลขยาก วิทย์ยาก ทำให้คนที่อยากเข้าสายวิทย์ แต่เล็งสายศิลป์ไว้เป็นแผนสำรองต้องเปลี่ยนแผนสำรองใหม่ เพราะไม่สามารถสอบทั้งเลขยาก เลขง่าย ฟิสิกส์ และวิทย์ง่าย พร้อมกันเพื่อเอาไปยื่นคะแนนให้ครอบคลุมได้

    ทิ้ง GAT/PAT บางวิชา

    มองว่าควรทิ้ง
    • GAT อังกฤษ เอาไปเป็น Fundamental English แล้วเอาวิชาสามัญมาเป็น Additional English (พูดกันในแง่ความยากของข้อสอบ)
    • PAT1 เพราะยากเกินไป (ยกเว้นปีล่าสุด ข้อสอบดีมาก สมควรเอาแบบนี้มาใส่วิชาสามัญ – แต่ถ้าตามข้อเสนอเราก็จะยุบเป็น Math-A Math-B อยู่แล้ว)
    • PAT2 ในเมื่อวิทย์ทุกตัวมีสอบแยกแล้วตามข้างบน
    จากเงื่อนไขสองข้อข้างต้น เราจะได้วิชาดังนี้

    GAT

    • เชื่อมโยง

    PAT

    • วิศวกรรม
    • สถาปัตยกรรม
    • ครู
    • ศิลปศาสตร์
    • ภาษา ซอยย่อยเหมือนเดิม

    วิชาสามัญ

    • คณิตศาสตร์
      • Math-A ง่าย
      • Math-B ยากกว่า Math-A
      • Calculus
    • วิทยาศาสตร์
      • ฟิสิกส์
      • เคมี
      • ชีววิทยา
      • โลก ดราศาสตร์ ธรณีวิทยา
      • วิทย์พื้นฐาน และทักษะทางวิทยาศาสตร์
    • ภาษาไทย
    • ภาษาอังกฤษ
      • พื้นฐาน
      • เพิ่มเติม
    • สังคม (เราไม่รู้ควรซอยย่อยไหม)
    เห็นด้วยกับพี่ต้นกล้าว่า GAT  เชื่อมโยงไม่ช่วยให้เด็กคิดเป็นเหตุผล เสนอให้เปลี่ยน GAT เชื่อมโยงเป็น Logic Test 101 มีตรรกะวิบัติมาให้ทดสอบ

    คงความเสมอต้นเสมอปลาย

    ข้อสอบมาตรฐานอย่าง SAT/IELTS/TOEFL จะมีอายุคะแนนที่ 2-3 ปี เพราะเค้าสามารถออกข้อสอบให้ “เสมอต้นเสมอปลาย” ไม่ยากเหวี่ยงง่ายเหวี่ยงได้ อายุของคะแนนคือกันเด็กไม่ได้ทบทวนแล้วทักษะต่ำลง แต่กับ GAT/PAT และวิชาสามัญ มันยากเหวี่ยง ง่ายเหวี่ยง (ไม่เชื่อไปดูฟิสิกส์ 57-58-59 เทียบ – เราทำฟิสิกส์ 58 ได้แบบ "เขี่ย" เลย "มองตอบ" เลย) พอข้อสอบเหวี่ยง เลยต้องสอบปีต่อปี เสียเวลาเปล่า วัดเด็กไม่ได้

    เฉลยข้อสอบ

    วิธีการที่แฟร์ที่สุดเลยนะ
    • ตรวจข้อสอบเสร็จ สแกนกระดาษคำตอบให้นักเรียน login เข้าไปดูสองอย่าง
      • 1 – กระดาษคำตอบแผ่นนี้ใช่ของตัวเองไหม
      • 2 – ผลการอ่านจากเครื่องอื่นกระดาษคำตอบ ตรงกับที่ฝนไหม (ขึ้นรูปกระดาษคำตอบ ขึ้นว่าเครื่องอื่นได้ว่าฝนเลขอะไร แล้วก็ไปทาบกันเอง)
    • เผยแพร่ข้อสอบ พร้อมเฉลยเรียงข้อ พร้อมวิธีทำหลังสอบเสร็จสามวัน
    • ให้เวลา 7 วัน ติวเตอร์ ครู นักเรียน ช่วยกันตรวจเฉลย เจอข้อผิดพลาด (เฉลยผิด) ส่งเรื่องให้สทศ.
    • สทศ. ทำหน้ารายละเอียดว่าข้อไหนเฉลยว่ายังไง ใครแย้งว่ายังไง แล้ว follow up เรื่อยๆ เพื่อความโปร่งใส
    • Blacklist กรรมการออกข้อสอบที่เฉลยผิด อย่าให้คนไร้คุณภาพทำระบบทดสอบเสียหาย
    • จบกระบวนการนั้นค่อยคิดคะแนน ขึ้นคะแนนให้นักเรียนดูทีหลัง
    ระบบทุกอย่างออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางไปสทศ. เพียงแค่จะไปดูกระดาษคำตอบ เรื่องร้องเรียนมันควรจะทำให้ง่ายที่สุด เพื่อให้เด็กรู้จักรักษาสิทธิ์ของตัวเองด้วย เพิ่มเติมเป็นความรู้: อินเดียสอบวิศวกรรมศาสตร์ในชื่อ JEE (http://jeemain.nic.in/webinfo/Public/Home.aspx) สอบเสร็จข้อสอบเปิด Public ส่วนเฉลยเอารหัสสอบ Login ไปดู

    จำนวนครั้งที่สอบ

    ให้สอบทุกเดือนก็ถี่ไป (มองในแง่สทศ.) งั้นให้โอกาสสอบสามครั้งไหม? ถือว่าตามตาราง GAT-PAT และวิชาสามัญในปัจจุบัน

    วิชาแปลกๆ

    เช่น Critical reading ของ SMART-1 ก็ให้ไปสอบแยกเอาเอง เภสัชศิลปากรอยากจัดสอบวิทยาศาสตร์เด็กแบบภาษาอังกฤษ เลยจัดสอบ PSAT ที่สอบเคมี ชีววิทยา เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเอาคะแนนมาถ่วงวิชาสามัญอีกที จะทำแบบนี้ก็ได้ สุดท้ายวิชาแปลกๆ ให้มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง แล้วค่อยเอามาถ่วงน้ำหนักกับผลทดสอบการศึกษาระดับชาติ

    เกณฑ์การคัดเลือกบุคคล

    ความ "น่ามึนงง" ของสอท. ในสายตาเราคือคัดเด็กเข้าวิศวะด้วย PAT2 ที่มีชีววิทยานั่นแหละ -_- ดังนั้นถ้าระบบการสอบมันเปลี่ยนแล้วเรา eliminate PAT2 ทิ้งได้ ก็เป็นการบังคับให้ใช้วิทย์ที่แยกรายวิชามาคิดคะแนน ดังนั้นจะไม่เอาชีววิทยามาคิดก็ได้

    การเทียบคะแนนของคณะนานาชาติ

    พอข้อสอบเผยแพร่ออกมา เราว่าคณะนานาชาติที่รับทั้งคะแนนไทย และคะแนน Standardised ก็หาเกณฑ์เทียบคะแนน ทั้งเพื่อคัดเกณฑ์ขั้นต่ำ และเทียบคะแนนเด็กเลย ตรงนี้จะยากหน่อยว่าจะเทียบข้อสอบสองชุดอย่างไร แต่อย่างน้อยจะไม่มีปัญหาเหมือน IUP KU ที่ไม่บอกว่า GAT-PAT ต้องผ่านเท่าไหร่ถึงจะมีสิทธิ์สัมภาษณ์ ในขณะที่พอเป็น Standardised test บอกไว้ชัดเจนเพราะรู้ว่าคะแนนไม่เหวี่ยง ปัญหามันไม่ได้ใหญ่เลย แค่จับจุดแก้กันไม่ถูก เราก็ยอมรับแหละว่าพูดแล้วง่ายกว่าทำ แต่มันมี solution ที่ดีกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้แน่ๆ อ่ะ รับประกัน