นี่เป็นครั้งที่สองที่ได้ฝึกงานช่วงปิดเทอม (จริงๆ ก็อาจจะนับว่าเป็นครั้งแรก ไม่รู้ว่างานเขียนเว็บที่ทำก่อนขึ้นปีหนึ่งนั่นนับว่าฝึกงานได้ไหม :P) แต่ก็รู้สึกว่าควรมาบันทึกอะไรไว้หน่อย
ฝึกงานสายวิชาการ — ทางเลือกที่ไม่ได้พบบ่อย
จริงๆ แล้วต้องบอกว่าในขณะที่หลายคนเลือกฝึกงานกับ tech companies ทั่วไป จริงๆ มีอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนไม่ได้หยิบมาพิจารณา คือการฝึกงานกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานวิจัย
ความตั้งใจแรกของเราคือมาเก็บเกี่ยวความรู้ machine learning/deep learning หลังจาก research คร่าวๆ มาก็พบว่าถ้าอยากฝึกงานสาย academic ในไทยน่าจะมีตัวเลือกอยู่สองตัวเลือกได้แก่
- NECTEC (ศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้สวทช. เท่าที่ดูแล้วสายที่เราสนใจในเนคเทคก็แข็งแกร่งอยู่ไม่ใช่น้อย ทีม Machine Learning ที่นั่น (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) นำโดยอาจารย์สรรพฤทธิ์ และทีมที่เรา (เคย) สนใจ (จริงๆ ก็สนใจอยู่ :D) คือทีม NLP ของพี่อาร์ม
- VISTEC (สถาบันวิทยสิริเมธี) เป็น graduate school กับ frontier research centre ที่มีบริษัทรัฐวิสาหกิจและเอกชนหลายเจ้า (หลักๆ ได้แก่เครือปตท. และตอนนี้มี sponsors เพิ่มสองบริษัทคือ KBANK และ SCB)
อาจารย์ธนาวินท์ (ที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มีงานที่ cooperate อยู่กับทีมที่ VISTEC ด้วยพอดี ด้วยคำแนะนำของอาจารย์เลยตัดสินใจมาที่ VISTEC นี่ละ 😀
VISTEC
VISTEC หรือสถาบันวิทยสิริเมธี เป็นสถาบันวิจัยและบัณฑิตวิทยาลัยที่ตั้งอยู่กลางอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง — ถึงจะบอกว่าตั้ง “กลาง” อำเภอ แต่ความจริงที่นี่ห่างจากตัวเมืองค่อนข้างมาก
บรรยากาศการทำงานที่ VISTEC ดีมาาาากก 😀 ที่เห็นในรูปคือตึกออดิทอเรียมและหอสมุดของ VISTEC ซึ่งถ่ายจากกลางทะเลสาบขนาดไม่ใหญ่มากหน้า VISTEC เอง
ส่วนไปทำยังไงถึงถ่ายมุมนั้นได้น่ะเหรอ
คำตอบคือถ่ายตอนไปพายเรือครับ! ใช่ครับ เรือคานูลำเล็กๆ ที่พายคนเดียวได้! ด้วยความที่ graduate students และนักวิจัยที่นี่ต้องทำงานค่อนข้างหนัก บวกกับห่างไกลจากสถานที่พักผ่อนในตัวเมือง (ไกลกรุงเทพและไกลตัวเมืองระยอง) ภายใน VISTEC เลยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและ facilitites ที่พร้อมมากๆ จำนวนหนึ่งไว้รองรับ
เป็นการรีวิวฝึกงานที่ประหลาดดีเพราะเปิดมาด้วยการพูดถึงเรื่องสุนทรียภาพก่อนเข้าตัวงาน 5555555
งานที่ทำ
ผมสังกัดเป็น Research Assistant Internship (ผู้ช่วยนักวิจัยฝึกงาน) ครับบ งานที่ได้รับมอบหมายคือช่วยอิมพลีเมนต์งานวิจัยเรื่องการควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยคลื่นสมอง ถึงอย่างไรก็ตาม working space ที่ผมทำงานจะนั่งรวมกับพี่ๆ ที่ทำ smart living solutions ตอนผมไม่มีอะไรทำก็เลยช่วยพี่บางคนดูแลตรงนี้ไปพร้อมกันด้วย
งานหนักไหม หนักครับ แค่เย็นวันแรกที่มาถึงเราก็รุมหัวล้อมโต๊ะทั้ง research team แล้ว
ผมหมายถึงล้อมโต๊ะพูล… นอกจากเรือให้พายเล่นและวิวดีๆ ให้ดู ก็มีโต๊ะพูลและฟิตเนสให้ใช้บริการด้วยนะ XD
ส่วนตัวมองว่านี่คือ Work-Life balance จริงๆ ครับ ผมอาจจะทำงานค่อนข้างดึกแต่ทำเพราะเพลินและไม่มีอะไรทำ ในขณะเดียวกันพอมีอย่างอื่นทำก็ชิลในระดับที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ productive เลยเหมือนกัน นอกจากนั้นก็ต้องขอบคุณทีมในนี้ที่ทุกคนน่ารักกันมากๆ คุยเล่นและเฮฮาได้เต็มที่ครับ
เข้าเรื่องจริงๆ ละครับ 55555 งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำคือ implement การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยคลื่นสมอง ผ่านการ monitor คลื่นไฟฟ้าในส่วนการมองเห็น ซึ่งจะถูก stimulate ผ่านการมองเห็น และเราสามารถนำคลื่นตรงนี้มา analyse ได้
บอร์ดในรูปคือ OpenBCI เป็น Brain-Controlled Interface toolkit สำหรับ monitor คลื่นสมองหรือคลื่นไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อ ดังนั้นในช่วงแรกๆ ของการฝึกงานเลยเอามาทำอะไรสนุกๆ เล่นหน่อย
เป็นการเอา OpenBCI มา monitor การขยับตาเพื่อเล่นเกมไดโนเสาร์ของ Google Chrome ครับ 😀 แน่นอนว่าวิชาจำพวก signal processing ที่เรียนมาได้ใช้ประโยชน์แน่ๆ เพราะคลื่นสมองนั้นมี amplitude อยู่ที่ระดับ millivolts ซึ่งแค่ไฟบ้าน (ที่วิ่งด้วยความถี่ 50Hz) ก็สร้างสัญญาณรบกวนจำนวนมากได้แล้ว
อีกอย่างหนึ่งคือคลื่นสมองเป็นคลื่นที่มี Signal to Noise Ratio (SNR) ค่อนข้างต่ำ ทำให้การ monitor/analyse ข้อมูลทำได้ยากกว่าปกติ ซึ่งก็เป็นหนึ่งใน research directions ของแล็บที่จะ process กับสัญญาณเหล่านี้ด้วยวิธีต่างๆ
research directions ตรงนี้ผมคงเขียนถึงไม่ได้มากเพราะเป็น confidential ของทางแล็บเองด้วย แต่เอาเป็นว่าท้าทายและสนุกดีครับ 😉
สรุปปิดท้ายสัปดาห์แรก
เป็นสัปดาห์ที่ทำให้จับ pace การทำงานของตัวเองได้ง่ายขึ้น ว่าควรไปเร็วแค่ไหน ทำได้แค่ไหนถึงกำลังรักษา balance หลายๆ อย่าง หวังว่าอาทิตย์ต่อๆ ไปจะได้มา progress update เรื่อยๆ แล้วกันครับ 😀
Leave a Reply